การเสนอแนะเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำด้วยโครงข่ายหลายรูปแบบ ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวทางน้ำ, ท่าเรือ, โครงข่ายหลายรูปแบบ, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบและความหนาแน่น ของแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำที่ตั้งอยู่ภายในระยะรัศมี 400 เมตรจากท่าเรือ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เสนอแนะเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำ ด้วยโครงข่ายหลายรูปแบบในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน มีรูปแบบการกระจายตัวของแหล่งท่องเที่ยวแบบเกาะกลุ่ม (Clustered distribution) เหมือนกัน โดยมีค่า Nearest Neighbor Ratio เท่ากับ 0.683666 และ 0.779086 ตามลำดับ และพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำหนาแน่นมากที่สุดในบริเวณท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือด่วนราชินี ท่าเรือข้ามฟากวัดอรุณ ท่าเรือท่าเตียน และท่าเรือข้ามฟากวังหลังในแม่น้ำเจ้าพระยา และหนาแน่นมากบริเวณท่าเรือมหาชัย ท่าเรือฉลอม และท่าเรือภัตตาคาร และท่าเรือ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในแม่น้ำท่าจีน ผลการเสนอแนะเส้นทาง ที่เหมาะสม (Best Routing) สำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำได้ 3 เส้นทาง ภายใต้เงื่อนไขด้านระยะทาง ระยะเวลา อัตราความเร็วเฉลี่ยของการเดินเรือ อัตราเร็วเฉลี่ยใน การเดินเท้า และค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง ซึ่งในแต่ละเส้นทางจะมีรูปแบบการเดินทาง 2 โครงข่าย คือ โครงข่ายทางน้ำ และการเดินเท้า ผลการเสนอแนะเส้นทาง คือ 1) เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ 5 แห่ง มีระยะทางรวม 9.36 กิโลเมตร 2) เส้นทางท่องเที่ยวทางศิลปวิทยาการ เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ 5 แห่ง มีระยะทางรวม 5.03 กิโลเมตร และ 3) เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ 9 แห่ง มีระยะทางรวม 8.438 กิโลเมตร
References
ธัญญรัตน์ ไชยคราม และสุธาสินี แสวงดี. (2564). การเลือกเส้นทางท่องราตรีตามแนวรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยโครงข่ายหลายรูปแบบ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 26(3), 1591-1610.
พรรณี ชีวินศิริวัฒน์. (2561). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: หลักการและการประยุกต์. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวี พลรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำ กรณีศึกษา ย้อนรอยเส้นทางประวัติศาสตร์อดีตราชธานีกรุงธนบุรี [ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิงหราช สุขเพิ่ม และณัฐพล ศรีอุบล. (2558). การศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตด้วยการวิเคราะห์โครงข่ายขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล [ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธปวีย์ ธนโสตถิกุลนันท์, บุรินทร์ สันติสาสน์ และพัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2563). ตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจการขนส่งทางน้ำในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 119-135.
สุเพชร จิรขจรกุล. (2560). เรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 10.5. บริษัท เอ พี กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
Euromonitor International. (2018). Top 100 City Destinations 2018. http://go.euromonitor.com/white-paper-travel-2018-100-cities
Maurizio, G., Paul, L., & Phil, A. (2007). Kernel density estimation and percent volume contours in general practice catchment area analysis in urban areas. GISRUK 2007: Proceedings of the Geographical Information Science Research UK 15th Annual Conference. Maynooth, Ireland.
Moinul. H., & Pawinee. L. (2007). Water Transportation in Bangkok. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 5(2), 1–23.
Scott. D. (2017). Human Orientation. http://activityinequality.stanford.edu/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.