ดิจิทัลเพื่อการบริหารรัฐกิจ

ผู้แต่ง

  • อนันต์ มณีรัตน์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • อคิน ธรากร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

ดิจิทัล, การบริหารรัฐกิจ, รัฐบาลดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องดิจิทัลเพื่อการบริหารรัฐกิจฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารและดำเนินงาน ขององค์การภาครัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีความเป็นพลวัต ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การดิจิทัล การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล คุณลักษณะของรัฐบาลดิจิทัล เทคโนโลยีที่ใช้ในรัฐบาลดิจิทัล แนวทาง การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลด้านการรวมศูนย์ข้อมูลและด้านการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศชั้นนำของโลก และกรณีศึกษาอื่น ๆ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยการตีความสร้างข้อสรุปของข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่มองเห็นหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิต่าง ๆ ทั้งเอกสาร ตำรา กฎหมาย บทความวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐบาลดิจิทัล แนวทาง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งองค์การภาครัฐและเอกชนที่เท่าทัน และสอดคล้องกับบริบทของสังคมที่มีความเป็นพลวัตแก่ผู้บริหาร บุคลากร นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา ประชาชนและผู้ที่สนใจ ตลอดจนเป็นแนวทางการสร้างนักบริหารภาครัฐ ที่ดีและประชาชนในยุคสมัยใหม่ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน

References

กรมการขนส่งทางบก. (2565, 11 เมษายน). DLT Smart Queue. https://play.google.com/store/apps/details?id=com.DLT.SmartQueue&hl=th&gl=US

กระทรวงการคลัง. (2565). ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS: Government Fiscal Management Information System). ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง.

จันทร์จิรา เหลาราช. (2563). การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและผลกระทบต่อองค์กร. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 22(1), 227-240.

ชัยทวี เสนะวงศ์. (2563, 6 ตุลาคม). คุณลักษณะของ “Digital Organization”. https://www.khonatwork.com/post/ คุณลักษณะของ – digital - organization

ณรัณ โพธิ์พัฒนชัย. (2561, 25 พฤษภาคม). บล็อกเชน (Blockchain) การขับเคลื่อนการทำงานภาครัฐ. https://www.prachachat.net/columns/news-164619

ปุณณดา ทรงอิทธิสุข. (2562). การบริหารและการบริการในภาครัฐ : รัฐบาลดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา (น.637-643). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

รัฐบาลและรัฐสภาของสหราชอาณาจักร. (2565, 25 พฤษภาคม). Petitions. https://petition.parliament.uk

ศูนย์บริการข้อมูลการร้องเรียนของรัฐบาล คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมืองของศูนย์ราชการนครเซจง. (2565, 18 พฤษภาคม). epeople. https://www.epeople.go.kr/index.jsp

สภาเมืองมาดริด. (2565, 22 พฤษภาคม). Decide Madrid. https://decide.madrid.es

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565, 25 พฤษภาคม). FDA Thai. https://www.facebook.com/FDAThai

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ปัญญาประดิษฐ์ในการให้บริการของภาครัฐ (AI in Government Services). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2563). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน).

Civil Service College. (2019). Digital Government, Smart Nation: Pursuing Singapore's Tech Imperative. Civil Service College.

Deborah L. Soule. (2016). Becoming a Digital Organization: The Journey to Digital Dexterity. MIT Center for Digital Business and Capgemini Consulting.

United Nations. (2020). E-Government Survey 2020: Digital Government in the Decade of Action for Sustainable Development with addendum on COVID-19 Respond. Department of Economic and Social Affairs, United Nations.

World Bank Group. (2020). Doing Business 2020: Comparing Business Regulation in 190 Economies. International Bank for Reconstruction and Development, The World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

มณีรัตน์ อ. ., & ธรากร อ. . (2022). ดิจิทัลเพื่อการบริหารรัฐกิจ . วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(2), 21–41. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1244