“ผีปอบ” ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องผีในชาติพันธุ์ไทลื้อ และชาติพันธุ์ไทยอีสาน

ผู้แต่ง

  • วีระชาติ ดวงมาลา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • กนกพร นุ่มทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, ผีปอบ, ภาพสะท้อน, ชาติพันธุ์ไทลื้อสิบสองปันนา, ชาติพันธุ์ไทยอีสาน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องผีปอบในชาติพันธุ์ไทลื้อและชาติพันธุ์ไทยอีสาน โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผีปอบในประเทศไทยและประเทศจีน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็น คือ ความเชื่อเรื่องการกำเนิดของผีปอบในชาติพันธุ์ไทลื้อและชาติพันธุ์ไทยอีสาน กระบวนการทำให้เป็นปอบและการขับไล่ผีปอบในชาติพันธุ์ไทลื้อและไทยอีสาน และการตีความที่เปลี่ยนไปของความเชื่อเรื่องผีปอบในปัจจุบัน

            ผลการศึกษาพบว่า 1. ความเชื่อเรื่องการกำเนิดของผีปอบ แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ประเด็นตำนานการกำเนิดผีปอบ 2) ประเด็นกระบวนการกลายเป็นผีปอบ 3) ประเด็นการรับรู้ถึงการมีอยู่ของผีปอบ 2. กระบวนการทำให้เป็นปอบและการขับไล่ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) การตีตราให้กลายเป็นปอบ 2) พิธีกรรม
ในการยืนยันตัวตนและการขับไล่ผีปอบ 3) การลงโทษทางสังคม 3. การตีความที่เปลี่ยนไปของความเชื่อเรื่องผีปอบในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ 1) การประกอบสร้างความหมายที่เปลี่ยนไปของเชื่อเรื่องผีปอบผ่านภาพยนตร์ โดยการทำให้กลายเป็นเรื่องตลก งมงาย 2) การตีความผีปอบที่เปลี่ยนไปผ่านโรค      

References

กชกร โพธิหล้า. (2555). การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลความเชื่อเรื่องผีปอบที่มีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษา บ้านดอนยานาง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กมลเลศ โพธิกนิษฐ. (2555). การทำให้เป็น “ผีปอบ” และการกีดกันทางสังคมในมุมมองของการบริหารความขัดแย้ง. วารสารสถาบัน, 10(2), 3-10.

สงัน สุวรรณเลิศ. (2529). ผีปอบผีเข้าในทรรศนะทางจิตเวชศาสตร์. บพิธการพิมพ์.

สมชาย นิลอาธิ. (2555). หมู่บ้านผีปอบ บ้านรักษาผีปอบ กรณีบ้านนาสาวนาน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(2), 1-16.

อภิมุข สดมพฤกษ์. (2558). การศึกษากระบวนการตีตราทางสังคมที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผีปอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อภินันท์ สงเคราะห์. (2556). เรื่องผีในอีสาน : ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร ส่วย และเวียดนาม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอีสานใต้ของประเทศไทย. อุบลราชธานี: งานส่งเสริมการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Zhao, W. (2008). “Pipa Ghost” and the Imagination of Others: A Case Study of the Dai Nationality in Xishuangbanna (琵琶鬼与他者想象——以西双版纳傣族为例). MA Dissertation. Minzu University of China.

Liu, F. (2013). Mangui’s Previous and Current Lives: the self-construction of a Dai “Pipa Ghost Village” (曼桂的前世和今生:一个傣族“琵琶鬼寨”的自我建构). Journal of Pu’er University, 29(1), 66-69.

Yunnan Provincial Institute of History. (1979). Investigation Materials on Theravada Buddhism and Primitive Religion of the Dai Nationality in Xishuangbanna (西双版纳傣族小乘佛教及原始宗教的调查材料). Kunming.

Zhao, S. & Wu, Q. (1997). Dai Culture (傣族文化志). Yunnan Nationalities Publishing House.

Zhou, Q. (2007). A Preliminary Study on the Miasma Environment in Yunnan during the Qing Dynasty (云南清代瘴气环境初论). Journal of Southwest University, 33(3), 44-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

ดวงมาลา ว., & นุ่มทอง ก. (2024). “ผีปอบ” ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องผีในชาติพันธุ์ไทลื้อ และชาติพันธุ์ไทยอีสาน. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(1), 1–21. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2035