การพัฒนารูปแบบการประเมินโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ : การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด
คำสำคัญ:
การประเมินพหุแนวคิด, โรงเรียนประชารัฐ, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
โครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเกิดประโยชน์ต่อการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ การประเมินโครงการโดยอาศัยแนวคิดการประเมินที่หลากหลายเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับประเด็นวิจัยนี้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ในการประเมินโครงการ และพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินโครงการ ตัวอย่างวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล ด้านการประเมินผล และด้านบริบทโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเคราะห์รูปแบบการประเมิน และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และวิธีดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนารูปแบบการประเมิน และ 3) ประเมินรูปแบบการประเมิน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ในการประเมิน โดยการประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการประเมินระบบ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านการติดตามผล 2) ผลการพัฒนาตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินโครงการ มี 5 องค์ประกอบ และ 15 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ ด้านการประเมินระบบ 3 ตัวบ่งชี้ ด้านปัจจัยนำเข้า 3 ตัวบ่งชี้ ด้านกระบวนการ 3 ตัวบ่งชี้ ด้านผลผลิต 3 ตัวบ่งชี้ และด้านการติดตามผล 3 ตัวบ่งชี้ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบโครงการ มีคะแนนเฉลี่ย 4.92 อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเหมาะสมสำหรับใช้ในสร้างเครื่องมือการประเมินโครงการ
References
กาญจนา ค้ายาดี. (2553). การพัฒนารูปแบบการประเมินการฝึกอบรมข้าราชการทหารของกองทัพอากาศ: การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เทียมฝ่าการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2546). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bledsoe, K. L., and Graham, J.A. (2005). The use of multiple evaluation approaches in program evaluation. American Journal of Evaluation, 26(1), 302-319.
Hansen, M. B. and Vedung, E. (2005). Evaluation of a standardized classification system. Odense. Syddansk Universitetsforlag.
Robbins, S.P. (1986). Organizational behavior: Concept, controversies and application (3rd ed). Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.