กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแผ่นภาพอินโฟกราฟิกของกรมอนามัย

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ คชินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • กิตติพงศ์ เกลี้ยงเกลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

กลวิธีการนำเสนอเนื้อหา, อินโฟกราฟิก, สุขภาพ, กรมอนามัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแผ่นภาพอินโฟกราฟิกของกรมอนามัย เก็บข้อมูลของกรมอนามัยในเว็บไซต์ AnamaiMedia ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 904 ภาพ จากนั้นนำมาคัดเลือกตามขอบเขตที่กำหนดไว้ และได้แผ่นภาพอินโฟกราฟิกที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 104 ภาพ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) 

ผลการศึกษาพบ 1. การใช้พาดหัวในแผ่นภาพอินโฟกราฟิกของกรมอนามัย ปรากฏ 2 ลักษณะ คือ พาดหัวหลัก พบการใช้พาดหัวหลักประเภทคำมากกว่าประเภทกลุ่มคำ และพาดหัวรอง พบการใช้พาดหัวรองเพื่อขยายความและเชื่อมโยงความจากพาดหัวหลัก 2. การนำเสนอเนื้อหาตามประเภทอินโฟกราฟิกของกรมอนามัย พบ 5 รูปแบบ ได้แก่ การอธิบายข้อมูล การแจกแจงข้อมูล การแสดงสถิติหรือผลสำเร็จ การแสดงลำดับขั้นตอนของข้อมูล และการแสดงความเชื่อมโยงของข้อมูล ทั้งหมดทำให้เห็นว่าเว็บไซต์ AnamaiMedia มีกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแผ่นภาพอินโฟกราฟิกที่หลากหลาย โดยสามารถนำข้อมูลเชิงสุขภาพที่มีความซับซ้อนมาเผยแพร่ได้อย่างน่าสนใจ ตลอดจนทำให้ผู้รับสารเข้าใจเรื่องของสุขภาพ สาเหตุ และสภาพปัญหา รวมถึงแนวทางการรับมือ และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย และใช้ระยะเวลาอันรวดเร็ว

References

กมลวรรณ ลิ้มเจษฎาพงษ์, จริญญา ธรรมโชโต และ สมิทธ์ชาต์ พุมมา. (2561).

กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแผ่นภาพอินโฟกราฟิกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติวลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10, 1-6.

กรมอนามัย. (2562). ตัวอย่างแผ่นภาพอินโฟกราฟิก. https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/).

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). eGovernment Forum 2015. http://www.mict.go.th/view/1/ข่าวทั้งหมด/ข่าวกระทรวง/1336/.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2560). Principles infographic เปลี่ยนข้อมูลเข้าใจยากให้เป็นภาพที่ทรงพลัง. โอดีซี พรีเมียร์.

ณัฐพล บัวอุไร. (2554). เครือข่ายสังคมออนไลน์. ใบความรู้ที่ 3 เครือข่ายสังคมออนไลน์. https://shorturl.asia/l23Qw.

ธัญธัช นันท์ชนก. (2559). Infographic Design. วิตตี้กรุ๊ป.

บล็อกโอแจ๊สซี. (2557). ทำไม Infographic จึงเป็นอนาคตของ Online Marketing. http://ojazzy.tumblr.com/tagged.

ระวิ แก้วสุกใส และ ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณีเฟซบุ๊ก (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(4), 11-28.

ลภัสรดา เหล็กเพ็ชร และ จุฑามาศ ศรีระษา. (2563). การวิเคราะห์วัจนภาษาในโปสเตอร์ภาพยนตร์ของค่ายหนัง GDH559 จากแอปพลิเคชันอินสตาแกรม (Instagram). วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 12(2), 35-44.

สุดาพร ศรีพรมมา. (2557). การพัฒนาชุดสื่อฝึกอบรมโดยใช้อินโฟกราฟิกเพื่อให้ความรู้ เรื่อง ลดภาวะโรคอ้วนและปัจจัยเสี่ยงด้วยหลัก 6 อ. ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อาศิรา พนาราม. (2555). Infographic เทรนด์มาแรงในสังคมเครือข่ายนิยม. http://tcdcconnect.com/content/KnowWhat/1110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

คชินทร์ พ. ., & เกลี้ยงเกลา ก. . (2024). กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแผ่นภาพอินโฟกราฟิกของกรมอนามัย. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 158–176. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/4099