การพัฒนาผู้สอนในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริม ทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษา สาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนาผู้สอน, กิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น, ทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสาขาภาษาญี่ปุ่น
2) เพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาสาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และใช้ชุดกิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น จำนวน 4 ชุดกิจกรรม ได้แก่ 1) การทำข้าวกล่องแบบญี่ปุ่น お弁当 (obento) 2) การชงชาแบบญี่ปุ่น 茶道 (chadou) 3) การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น 折り紙 (origami) 4) การเขียนพู่กันแบบญี่ปุ่น 書道 (shodo) และแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่น และบันทึกหลังการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของผู้สอน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงค่าเฉลี่ย ความถี่ ค่าร้อยละ และค่า t-test ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีกทั้งยังนำเอาข้อมูลบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนมาวิเคราะห์สรุปเชิงบรรยายพรรณนา
จากผลการศึกษา ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.49) และหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมทัศนคติ พบว่า มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นโดยมีทัศนคติต่อภาษาญี่ปุ่นอยู่ในระดับมาก (X = 3.66) แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่น นักศึกษามีทัศนคติที่ดีขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อผู้สอนนำเอากิจกรรมทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นสอดแทรกในชั่วโมงเรียน พบว่า นักศึกษามีความสนใจและกระตือรือร้น พร้อมทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิม และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
มยุรี สุขวิวัตน์. (2554). แนวคิดในการปฎิรูประบบการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในมหาวิทยาลัย. วารสารภาษาปริทัศน์, (26), 65-70. https://www.culi.chula.ac.th/Images/asset/pasaa_paritat_journal/file-26-163-m5z3jd134909.pdf
วิไลรัตน์ ทาโส. (2555). การใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อำนาจ ขาวเครือม่วง. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานสำหรับกิจกรรมชุมนุมภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Edward D.A., Rebecca M. V. (1997). Classroom Techniques: Foreign Languages and English as a Second Language. Harcourt .Brace Jovanovich.
The Japan Foundation. (2021). 2021Results of the Annual Survey on Japanese Language Education Institutions. https://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/survey/result/dl/survey202 1/s_east_asia.pdf
Yozo, O. Koichi, N. & Izumi, Y. (2003). 『Humanism in Japanese Language Education』. Bonjinsha.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.