คุณสมบัติทางเภสัชกรรมของเหล้ายาในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

Authors

  • อุษา กลมพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชกรรมของเหล้ายาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านมีความเชื่อการนำสมุนไพรมาดองกับเหล้าและมีสรรพคุณทางยา เช่น บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อัมพฤก อัมพาต เหน็บชา ช่วยเจริญอาหารช่วยขับน้ำคาวปลาและช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดบุตร ชาวบ้านเชื่อว่าการทำเหล้ายานั้น ยิ่งดองนานยิ่งมีสรรพคุณทางยามาก เพราะการดองนานตัวยาจะยิ่งแตกตัว การทำเหล้ายานั้นเป็นการดองสมุนไพรที่ได้จากพืชและจากสัตว์ แต่ระยะเวลาในการดองนั้น การดองจากพืชจะใช้เวลาน้อยกว่าการดองจากสัตว์ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์ต่อหัวใจและระบบทางเดินโลหิต และเพื่อเป็นการสนับสนุนและเพิ่มความเชื่อมั่นของการศึกษาเชิงคุณภาพ จึงได้ดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง โดยนำสูตเหล้ายาที่ได้รับความนิยมมากทีสุดของในแต่ละพื้นที่ ไปวิเคราะห์ทางกระบนการทางวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชกรรมของเหล้ายาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เหล้ายา : ขมิ้น มะกรูด บอระเพ็ด สารที่พบ : Bicycloheptanes -pinene o-Cymene/p-Cymene D-Limonen Cineole/Eucalyptol y-Terpinene เหล้ายา : กระชายดำ สารที่พบ : Heptane Hexanoic acid Octanoic acid เหล้ายา : ม้ากระทืบโรง กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กำลังช้างสารสารที่พบ : Heptane Octanoic acid Decanoic acid เหล้ายา : งู แมงป่อง โสม สารที่พบ : Butanoicacic 4-Penten Heptane

This research has an objective to study the pharmaceutical properties of herbal liquors by using a scientific method. Thai peoples have a belief of using herbs to macerate with liquor. And these herbal liquors will have the pharmaceutical properties. Such as, reduce a fatigue on muscle, increasing power, cure a paralysis, appetizing, increasing a maternal feeds on babies. The more time they macerate herbs with liquor, the more effective they will have because the herbs will have time to spread their medical properties. The herbal liquor can macerated on plants and animals but it would take a shorter time to macerate with plant. To consume the alcohol beverages in the appropriate quantity, it would be a beneficial for the heart. This research is study on an experiment to support this thought. By selecting most popular herbal liquor from all regions to analyze with scientific methods. The result of this study found out that the pharmaceutical properties of herbal liquor are The herbal liquor with turmeric, bergamot, galingale. The substance are Bicycloheptanes -pinene o-Cymene/ p-CymeneD-Limonen Cineole/Eucalyptol y-Terpinene The herbal liquor with black glingale. The substance are Heptane Hexanoic acid Octanoic acid The herbal liquor withMah gra teup rohng,Gam lang vua talerng,Gam lang suea krohng,Gam lang chang sarnThe substance are Heptane Octanoic acid Decanoic acid. The herbal liquor with snakes, scorpions, ginseng. The substance are Butanoicacic 4-Penten Heptane.

References

เทพจำนง แสงสุนทร. (2557). เคมี. กรุงเทพ : ภูมิบัณฑิต

ยิ่งพิศ พรพัฒน์กุล. (2558). เคมีสำหรับนักวิทยาศาสตร์. กรุงเทพ : บริษัทคิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.

พรพรรณ อุดมกาญจนนันท์. (2551). เคมีปริมาณวิเคราะห์. กรุงเทพ : บริษัทด่านสุนธาการพิมพ์ จำกัด

รานี สุวรรณพฤกษ์. (2557). เคมีทั่วไป . กรุงเทพ : วิทยพัฒน์.

Lawrie Ryan. (2015). Advance Chemisty for You. Ryan Books Limited.

Partington , J.R. (2011). A Short History of Chemistry. Macmillan. P. 67.(2nd edition)

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

กลมพันธ์ อ. . (2022). คุณสมบัติทางเภสัชกรรมของเหล้ายาในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 1(2), 8–20. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/545