มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์
Keywords:
มองเชิง, ไทยกุลา, ปะโอเมียนมาร์Abstract
วัฒนธรรมบ่งบอกถึงความเจริญของมนุษยชาติที่ได้สืบทอดต่อกัน ตอกย้ำความเป็นอยู่ของคนในสังคมนั้นๆ ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองจนสามารถสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมของตนเอง ดั่งเช่นชาวไทยกุลา ที่บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ทางด้านดนตรีและท่าการฟ้อนรำชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “มองเชิง” มาจากบรรพบุรุษผู้อยู่ไกลโพ้น นั่นคือชนเผ่าตองสู หรือชนเผ่าปะโอจากเมียนมาร์ในปัจจุบัน หรือในนามชาวไทยกุลา อันมีวัฒนธรรมการแสดงมองเชิงเป็นสื่อสัญลักษณ์ที่รู้กันของคนในสังคมของชาวไทยกุลาและชาวปะโอ วัฒนธรรมจึงเป็นใยข่ายสัมพันธ์เชื่อมโยงสองชนเผ่านี้ การศึกษาเรื่อง มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของศิลปวัฒนธรรมการแสดงมองเชิงของชุมชนบ้านโนนใหญ่ โดยศึกษาจากเอกสารประวัติศาสตร์ คำบอกเล่า ตลอดจนหลักฐานทางวัตถุ และหลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า จึงได้พบว่า การแสดงมองเชิงของชาวไทยกุลาแห่งบ้านโนนใหญ่ มีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษชนเผ่าปะโอจากเมียนมาร์ อันเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ที่มีการสืบทอดและอนุรักษ์ธรรมรงค์ไว้จนถึงปัจจุบัน
The culture shows a civilization of mankind that passed on from generation to generation. It can emphasize the being of mankind in the society that prospers till they can create the art and culture. Such as Kula tribe at Ban Non Yai, Tambon Ko E, Amphoe Khueang Nai, Ubonratchathani province, they inherit an art and culture of dancing from their ancestors known as PA-O tribe in Myanmar in the present day. The dancing is called “Mongcheng”. This culture of Mongcheng dancing is a symbolic bonding between Kula peoples and PA-O peoples and only known by themselves. The study of Mongcheng : An art and culture of Kula people at Ban Non Yai as a bonding from PA-O tribe in Myanmar has an objective to study an historical trail of art and culture of Mongcheng dancing of Ban Non Yai Community. By study the historical documents, oral history including historical evidences and empirical evidences with a participant observation technique, in-depth interviews and triangulation analysis. The researcher find out that a Mongcheng dancing of kula tribe from Ban Non Yai inherit an art and culture from their ancestor which is PA-O tribe in Myanmar. The Mongcheng dancing is only culture identity in the north eastern part of Thailand that still passing on until now.
References
คนึงนิตย์ จันทรบุตร. (2542).กุลา (บ้านโนนใหญ่) : ชาติพันธุ์ .สารานุกรมวัฒนธรรมไทยอีสาน. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ กรุงเทพ.
ฟริตจ๊อฟ คาปร้า(พระประชา ปสนฺนธมฺโมและคณะ,แปล) จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษเล่ม 2 อิทธิพลความคิดแบบเดส์คาตส์-นิวตัน.กรุงเทพฯ:มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พรพิมล ตรีโชติ. (2548). ไร้แผ่นดิน: เส้นทางพม่าสู่ไทย.กรุงเทพฯ:หจก. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-กkiพิมพ์.
พระสมุห์อานนท์ อินฺทวํโส และคณะ. (2554). หนังสือ สวดมนต์และประวัติวัดหนองคำ. เชียงใหม่: สุทินการพิมพ์.
พงษ์ศิลป์ สิมวิเศษ. (2548).ศิลปวัฒนธรรมไทยอีสาน.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.
มิ่งขวัญ ชนไพโรจน์. (2551). แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์กุลาในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. (วัฒนธรรม). มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิศิษฐ์ แสนสุข. (2547). อดีตและความเป็นมาของบ้านโนนใหญ่.อุบลราชธานี. โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์.
สุรีย์ฉาย สุคันธรัต.(2556). ใยข่ายเศรษฐกิจชาติพันธุ์ตองสู (ปะโอ) จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์สู่ทุ่งกุลาราชอาณาจักรไทย.ดุษฎีนิพนธ์สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค.มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.สุรินทร์
อคิน รพีพัฒน์. (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย.กรุงเทพฯ: บริษัทโอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์ จำกัด.
อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2545). ทฤษฏีความรู้โลกาภิวัฒน์และภูมิปัญญาท้องถิ่น. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Russ Christensen and Sann Kyaw. (2006). The Pa-O Rebels and Refugees. Chiang Mai:Silkworm Books.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.