พัฒนาการคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่ปรากฏในนิตยสารบันเทิง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเขียนคำทับศัพท์ การเปลี่ยนแปลงเสียง และการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในนิตยสารบันเทิง ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. วิธีการเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในนิตยสารบันเทิงพบว่า1) นิตยสารบันเทิง ช่วงพ.ศ.2495 – 2532 พบคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศทั้งหมด 23 หมวดอักษร 273 คำ ปรากฏวิธีการเขียนทั้งหมด 397 รูปแบบ เป็นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่มีวิธีการเขียนไม่ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน จำนวน 204 คำ 2) นิตยสารบันเทิง ช่วง พ.ศ. 2533 – 2553 พบคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศทั้งหมด 19 หมวดอักษร 340 คำ ปรากฏวิธีการเขียนทั้งหมด 640 รูปแบบ เป็นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่มีวิธีการเขียนไม่ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน มีจำนวน 378 คำ 2. การเปลี่ยนแปลงเสียงของคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในนิตยสารบันเทิง พบว่า 1) คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศจากนิตยสารบันเทิง ช่วง พ.ศ. 2495 – 2532 พบทั้งหมด 273 คำ ปรากฏคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงเสียง จำนวน 39 คำ พบมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงสระ จำนวน 25 คำ รองลงมา การเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะ จำนวน 6 คำ การตัดเสียงจำนวน 4 คำ การเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์จำนวน 2 คำ การเพิ่มเสียงจำนวน 1 คำ และการลากเข้าความ จำนวน 1 คำ ตามลำดับ 2) คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศจากนิตยสารบันเทิง ช่วง พ.ศ. 2533 – 2553 ทั้งหมด 340 คำ ปรากฏคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงเสียง จำนวน 45 คำ พบมากที่สุด คือ การตัดเสียงจำนวน 20คำ รองลงมา การเปลี่ยนแปลงเสียงสระ จำนวน 13 คำ การเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะ จำนวน 9 คำ การเพิ่มเสียงจำนวน 3 คำ และการเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์จำนวน 1 คำ ตามลำดับ 3. ความหมายและการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในนิตยสารบันเทิงพบว่า 1) คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศจากนิตยสารบันเทิง ช่วงพ.ศ. 2495 – 2553 พบทั้งหมด 340 คำ ปรากฏคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงความหมาย จำนวน 55 คำ พบมากที่สุด คือ ความหมายแคบเข้า จำนวน 32 คำ รองลงมา ความหมายย้ายที่ จำนวน 14 คำ ความหมายกว้างออก จำนวน 7 คำ และไม่ปรากฏความหมายจำนวน 2 คำ ตามลำดับ 2) คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในนิตยสารบันเทิง ช่วงพ.ศ. 2533 – 2553พบทั้งหมด 340 คำ ปรากฏคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงความหมาย จำนวน 109 คำ พบมากที่สุด คือ ความหมายแคบเข้า จำนวน 72 คำ รองลงมา ความหมายย้ายที่ จำนวน 35 คำ กว้างออก 1 คำ และไม่ปรากฏความหมายจำนวน 1 คำ ตามลำดับ
The purposes of this research were: to learn how to write a transliteration, sound change and the meaning of the words which transliterated in foreign languages in the entertainment magazines. The results of this study were 1. the ways how to write the transliteration of a foreign language in the entertainment magazines were found that 1) During 1952-1989 had showed the transliteration of all 23 foreign languages. There were 273 words appeared the ways to write in the total of 397 forms. The transliteration transcribed from foreign language was not written according to the transliteration methods of the Royal Society of Thailand for 204 words. 2) During 1990 - 2010 found the transliteration of all 19 foreign languages, there were 340 words appeared the way to write in the total of 640 forms. The transliteration transcribed from foreign language was not written according to the transliteration method of the Royal Society of Thailand for 378 words. 2. The changes in the transliteration of foreign languages in entertainment magazines were as follows: 1) Foreign language transliteration from the entertainment magazines during 1952 - 1989 found 273 words. The transliteration of foreign languages had changed the tone in the number of 39 words. The most common change was the vowel sound for 25words, followed by the consonant sound for 6 words. There were the deletion for 4 words, 2 words in the sound change of tone, 1 word in the addition and 1 word in the popular etymology in order. 2) Foreign language transliteration from the entertainment magazine during 1990-2010 found 340 words. The transliteration of foreign languages had changed the tone for 45 words. The most common change was the deletion for 20 words, followed by the vowel sound change for 13 words. The consonant sound change found 9 words, the addition found 3 words and tone sound change found 1 word in order. 3. Meaning and change of meanings of transliterated foreign languages in entertainment magazines were found that 1) the transliteration of foreign languages from entertainment magazine during 1952 - 2010 found 340 words. There were the transliteration of foreign languages had changed the meaning for 55 words. The most common change was the narrowing definition which found 32 words, followed by the transference found 14 words, widening definition found 7 words. In addition there was no meaning that found 2 words in order. 2) the transliteration of foreign languages from entertainment magazine during 1990-2010 found 340 words. There were the transliteration of foreign languages has changed the meaning for 109 words. The most common change was the narrowing definition which found 72 words, followed by the transference found 35 words, widening definition found 1 word. In addition, there was no meaning that found 1 word in order.
References
กำชัย ทองหล่อ. (2537).หลักภาษาไทย.กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
จันจิรา จิตตะวิริยะพงษ์. (2546).อิทธิพลภาษาต่างประเทศในภาษาไทย.กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ชญานุช วีรสาร. (2543). เนื้อหาด้านบันเทิงในหนังสือพิมพ์รายวัน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร-มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดรุณี หิรัญรักษ์. (2530).นิตยสาร.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรกชัย มหัทธนะสิน. (2528).หน่วยคำภาษาไทย.กรุงเทพฯ:ศิลปาบรรณาคาร.
นวลวรรณ พลังคะพันธ์พงศ์. (2541).วิเคราะห์ภาษาในนิตยสารบันเทิง.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นารีรัตน์ สมิงแก้ว. (2545).การปนภาษาอังกฤษในข่าวบันเทิงในหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา นิราศรพ. (2530).การยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยระหว่าง พ.ศ. 2417 – 2453.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรจบ พันธุเมธา. (2551).ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รามคำแหง.
บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย. (2548).การสื่อข่าวเบื้องต้น.ลำปาง: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ปรมะ สตะเวทิน. (2539).การสื่อสารมวลชน:กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยูร ทรงศิลป์. (2526).การเปลี่ยนแปลงของภาษา:คำยืมในภาษาไทย.กรุงเทพฯ:คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูธนบุรี.
พนม วรรณศิริ. (2544).การสื่อข่าวและการเขียนข่าว.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏ สวนดุสิต
พีระ จิรโสภณ. (2528).เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภณรัตน์ คชสิทธิ์. (2549).การใช้คำปนภาษาอังกฤษในการเขียนข่าวและบทความทางการเมืองในนิตยสารข่าวรายสัปดาห์.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัชตพล ชัยเกียรติธรรม. (2543).การวิเคราะห์การใช้คำทับศัพท์ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่มีผลต่อการเขียนคำทับศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546).พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
“_____________”. (2552).หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://royin.go.th [วันที่ 10 ธันวาคม 2558].
วชิราชุณหศรี. (2546).การศึกษาสำนวนที่ใช้ในวงการบันเทิงจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2544.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจิตรา แสงพลสิทธิ์. (2524).ความรู้เรื่องภาษาต่างประเทศในภาษาไทย.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2533).ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ:วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2550).ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, (ม.ป.ป).อิทธิพลภาษาต่างประเทศ.เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง การใช้ภาษาไทย. ม.ป.ท.
สิทธา พินิจภูวดล. (2548). “ภาษาข่าว.”หน่วยที่ 5. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2544).การบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสาร.กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
ศศิธร ทัศนัยนา. (2535).การศึกษาลักษณะภาษาของข่าวบันเทิงในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยปีพ.ศ. 2531.วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2547).“วิวัฒนาการของการยืมคำและการบัญญัติศัพท์ในสังคมไทย.”วารสารอักษรศาสตร์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 1: 185 – 211.
อนุมานราชธน, พระยา.(2511).นิรุกติศาสตร์ภาค 2.พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
Katz, Jerrold J. (1972). Semantic Theory. A Harper International Edition.
Schaff, Adam. (1973). Language and Cognition. introduction by Noam Chomsky MeGraw-Hill Book Company.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.