ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการสร้างนิสัยรักการอ่านของนักศึกษา สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Keywords:
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษานิสัยรักการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษ ศาสตร์ฯ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 61 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติโดยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด นำผลที่ได้แปลและสรุปผล ส่วนข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วนำมาสรุปภาพรวมโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า นิสัยรักการอ่านของศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง การเป็นแบบอย่างในการอ่านของพ่อและแม่ ครูอาจารย์และ อยู่ในระดับปานกลาง การส่งเสริมการอ่านจากครอบครัว และจากมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนทัศนคติต่อการอ่าน อยู่ในระดับดี ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของมารดา รายได้รวมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเป็นแบบอย่างในการอ่านของบิดา ของมารดา ของครูอาจารย์ และของเพื่อน การส่งเสริมการอ่านจากครอบครัว จากมหาวิทยาลัย และทัศนคติต่อการอ่านมีความสัมพันธ์กับนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการศึกษาหาตัวทำนายนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาจากตัวแปรอิสระชุดที่ 1 คือ ปัจจัยพื้นฐานไม่พบว่า มีตัวแปรอิสระใดสามารถทำนายนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ตัวแปรอิสระชุดที่ 2 คือ ปัจจัยทางสังคมพบว่า การเป็นแบบอย่างในการอ่านของเพื่อน ของมารดา และของบิดาสามารถทำนายนิสัยรักการอ่านของนักเรียนได้ร้อยละ 44.8 และตัวแปรอิสระชุดที่ 3 คือการส่งเสริมการอ่านจากครอบครัว จากโรงเรียน และทัศนคติต่อการอ่านนั้น พบว่า การส่งเสริมการอ่านจากครอบครัว และจากโรงเรียนสามารถทำนายนิสัยรักการอ่านของนักเรียนได้ร้อยละ 38.5 ผลการศึกษานิสัยรักการอ่านของนักศึกษาจากตัวแปรอิสระทั้งหมด 17 ตัวพบว่ามีตัวแปรอิสระที่ร่วมทำนายนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 3 ตัว เรียงตามลำดับความสำคัญของตัวแปร ได้แก่ การเป็น แบบอย่างในการอ่านของเพื่อน (36.8 %) การส่งเสริมการอ่านจากครอบครัว (9.3 %) และการส่งเสริมการอ่านจากมหาวิทยาลัย (3.2 %)
This research aims to study Factors Influencing Love - of - Reading Habit of Students in Library and Information Science. Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University The results indicated that the reading habit of secondary level pupils was in the moderate level. In addition, the pattern of reading of father, mother, teachers and friends was also in the moderate level. Likewise, the influence from the reading support of the family and university was in the moderate level. The attitude in reading perspective was in the good level. Hypothesis testing found that the graduation background of the mother, the career of the mother and total income of the parents statistically related to reading habit of student at the significance level .05 . The pattern of reading of father, mother, teachers and friends, the family support for the reading, university support for the reading and the attitude in reading was statistically related to the reading habit of students at the significance level .001 . The results of the predictive factors of reading habit of the pupils from the first set of independent variable characteristic factors found that there was no independent variable that could predict the reading of the pupils. According to the second set of independent variables which were social factors, the study indicated that the reading pattern of friends, mother and father could predict 44.8% of the pupil’ s reading habit. In addition the third set of independent variables which were the family and university supporting and the attitude in reading could predict 38.5% the pupils’ reading habit. The results of the predictive factors of reading habit of secondary level pupils, derived from 17 independent variables, found that there are 3 factors suited for predicting reading habit of students: friends reading pattern (36.8%), family support (9.3%) and university support (3.2%).
References
กรมวิชาการ. (2510). การสัมมนาเรื่องหนังสืออ่านสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2546). ปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในมงคลวโรกาส ทรงเจริญพระชนมพรรษา 48 พรรษา. ม.ป.ท.
กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2535). เส้นทางการรู้หนังสือ. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยา ยวนมาลัย. (2539). การอ่านเพื่อชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ. (2533). ถนนวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย.
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2528). “ 25 วิธีที่พ่อแม่สามารถสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูก ”. เอกสารประกอบการสัมนาระดับชาติว่าดว้ ยการรณรงค์เพื่อพัฒนาการอ่าน 23 – 25กันยายน (2528). กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
จิตรา วสุวานิช. (2526). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
จินตนา ท่าสระ. (2530). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนที่ได้รับและไม่ได้รับหนังสือหมุนเวียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ประสานมิตร.
จินตนา ใบกาซูยี. (2534). หนังสือกับการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2532). จิตวิทยาเบื้องต้น. สงขลา: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จุไรเกิดควน.(2547).พฤติกรรมการอ่านของนิสิตชั้นปีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน.กรุงเทพฯ:การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จำรอง เงินดี. (2537). “จิตวิทยาและชุมชน”. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
ฉัตรชนก โสมาลีย์. (2542). ทัศนคติของข้าราชการตำรวจชายที่มีต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจหญิงชั้นสัญญาบัตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2523). การอ่านและการพิจารณาหนังสือ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์.
________. (2524). จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2527). การทำหนังสือสำหรับเด็ก (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
________. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณคาร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน, อรพินทร์ ชูชม และ สุภาพร ลอยด์. (2529). รายงานการวิจัยเรื่องการส่งเสริมในครอบครัวกับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนวัยรุ่น.
กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2530). การอ่านให้เก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กระดาษสาการพิมพ์.
ทวีศักดิ์ เดชาเลิศ. (2528). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองประดับ ลิ้มตระกูล. (2516). การศึกษาความสนใจและแนวการอ่านหนังสือของนักเรียนอายุ 13 – 18 ปี ในโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายกนครสวรรค์ สระบุรี อ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.
บันลือ พฤกษะวัน. (2532). มิติใหม่ในการสอนอ่าน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
บุญเรือน ศิริมงคล. (2530). การอ่านเอาเรื่องภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปภาวดี ดุลยจินดา. (2537). “ ทัศนคติและความพอใจ ”. เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 8 – 15. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประดินันท์ อุปรนัย. (2530). “ การพัฒนาความรับผิดชอบของเด็ก ”. เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาพฤติกรรมเด็กหน่วยที่ 6 – 10. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประเทิน มหาขันธ์. (2537). การสอนอ่านเบื้องต้น. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
ผกา สัตยธรรม. (2530). เอกสารทางวิชาการเรื่องสุขภาพจิตเด็ก. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิตนันท์ บุญพามี. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้น. นครราชสีมา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สถาบันราชภัฎนครราชสีมา.
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2544). พฤติกรรมองค์การ. สงขลา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไพรัตน์ อยู่สมบูรณ์. (2539). การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมและนิสัยรักการอ่านในเด็กก่อนวัยเรียนโดยการเล่านิทานแบบไม่จบเรื่องก่อนนอน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภูธร ดีมาก. (2544). การจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดโรงเรียนของครูบรรณารักษ์โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์.
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาลี ไชยกาล อู่นอก. (2528). ผลการวิจัยเรื่องการสำรวจความสนใจในการอ่านวรรณกรรมปัจจุบันของนักเรียนชั้น ป. 1 – ม. 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แม้นมาส ชวลิต. (2529). การรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ,กระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2530). การสร้างสังคมการอ่านและการใช้สารนิเทศ. กรุงเทพฯ: ปรเมษฐ์การพิมพ์.
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. (2520). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิชา ทรวงแสวง. (2543). การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างนิสัยการอ่านสำหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฎ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
วิฑูรย์ รองศรีแย้ม. (2534). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
วิทยา วิมลถนอม. (2530). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทและทัศนคติของผู้ปกครองในการส่งเสริมการอ่านกับนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2540). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พชรกานต์พับลิเคชัน.
ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2540). การอ่านเพื่อชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่การพิมพ์.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.