สวนสาธารณะกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2523 –ปัจจุบัน

Authors

  • ทิวาพร ใจก้อน

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นมาของการก่อตั้งสวนสาธารณะ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของสวนสาธารณะ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของสวนสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยเริ่มศึกษาสวนสาธารณะตั้งแต่ก่อนเริ่มจัดสร้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2559 โดยศึกษาเฉพาะสวนสาธารณะภายในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จากการศึกษาพบว่าความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีผลกระทบต่อการก่อตั้งสวนสาธารณะ การนิยามความหมาย การใช้พื้นที่ และบทบาทของสวนสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมเมืองศรีสะเกษด้วย การสร้างสวนสาธารณะในเมืองศรีสะเกษเกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอก แนวคิดในการสร้างสวนสาธารณะเป็นสิ่งที่สังคมไทย รับมาจากตะวันตก และเมื่อเกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางความคิดในกลุ่มชนชั้นนำจึงนำมาสู่ความคิดในการจัดตั้งสวนสาธารณะในเมืองหลวง ต่อมาเมื่อมีการใช้เแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 ที่มุ่งเน้นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ทำให้รัฐบาลหันมาพัฒนาระบบสาธารณูประโภคและโครงสร้างพื้นฐานในส่วนภูมิภาค สวนสาธารณะแห่งแรกในจังหวัดศรีสะเกษและเป็นสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์แห่งแรกของประเทศไทยจึงได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นก็เกิดสวนสาธารณะตามมาอีกหลายแห่ง การสร้างสวนสาธารณะในเมืองศรีสะเกษในช่วงแรกเป็นผลจากการดำเนินนโยบายพัฒนาชนบท การใช้พื้นที่สวนสาธารณะยังไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาและเปลี่ยนชื่อเป็น “สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์” เกิดขึ้น มีการเข้าไปใช้พื้นที่สวนสาธารณะมากขึ้นและสวนสาธารณะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน สวนสาธารณะยังคงสัมพันธ์กับเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็สัมพันธ์กับความต้องการเข้าไปใช้พื้นที่สวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อน ออกกำลังกาย และวัตถุประสงค์อื่นๆ ตามความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งจำนวนและความหลากหลายของประชากรในท้องถิ่นที่มีมากขึ้นอีกด้วย

This research aimed to study history and background of founding public parks including socio-economic change which affected public parks improvement. The researcher also focused on each effect which happened to public parks in Sisaket Municipality’s area. The research was started before the beginning of founding Somdejphra Sinakarintara Botanical Garden in Sisaket - 1980 up to present (2016). The study was especially for public parks in Sisaket Municipality’s area. The results showed that the changing of socio-economic affected Public Park founding: definition, area usage and role. The beginning of founding public parks in Muang Sisaket was from interior change of Thai social which was influenced by external social change. The idea of creating public parks in Bangkok people was from Western idea after the happening of socio-economic development including idea change of Thai leading group which applied the idea of founding Public Park founding in capital city. After the 1st issue of National Economic Development Plan emphasized on diffusion to other regions of Thailand, the government developed infrastructure in all regions of Thailand. At that time, the first public park of Sisaket was founded, and then there were many parks in Sisaket. The first period of park founding in Muang Sisaket was influenced by rural development policy. In the past, the usage of public parks’ area was not much important. But, after the birth of Somdejphra Sinakarintara Botanical Garden, there was more usage of public parks’ area by Sisaket residents. Public parks in Muang Sisaket have been being important attractions since 2001 to present. Public parks has also been connecting to tourism-economic – in the same time there are many reasons to use public parks’ area: relaxing, exercising and other objectives following the changes in each issue such as quantity and diversity of residents which will be increased.

References

คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์. (2549). สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.

ชญาภัทร พันธ์งาม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของวัยรุ่นในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.

ชอบ ดีสวนโคก และคณะ. (2532). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชุมชนลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน.ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาร์ลส์ เอฟ คายส์. (2556). อีสานนิยม: ท้องถิ่นนิยมในสยามประเทศไทย. รัตนาโตสกุล. แปล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ

มนุษยศาสตร์.

นพเก้า หัตจุมพล. (2552). บทบาทของสวนสาธารณะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต : กรณีศึกษาสวนสาธารณะหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วีรยุทธ ศรีสุวรรณกิจ. (2549). การพักผ่อนหย่อนใจแบบตะวันตกของชนชั้นนำสยามพ.ศ. 2445–2475.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรินทร์ อุทัยคา. (2555). บทบาทของสตรีในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

สำนักงานสถิติจังหวัดศรีสะเกษ. (2543). สมุดรายงานสถิติจังหวัดฉบับ พ.ศ.2543. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุทัศน์ กองทรัพย์. (2555). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสานใต้ระหว่าง พ.ศ. 2302 –2450. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุภัทตรา อ่อนศรี. (2551). วิถีชีวิตกับการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าโนนบักบ้า กรณีศึกษาชุมชนพันทาใหญ่ ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต และดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2541). ประวัติศาสตร์อีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน. ขอนแก่น: ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม.

อรอินทร์ อินทรวงษ์โชติ. (2557). การจัดการความรู้ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

Chadwick, George F. (1996). The Park and the Town. New York:Frederick A. Praeger.

Delehanty, Randolph Stephen. (1992). San Francisco parks andplaygrounds, 1839 to 1990: The history of a public good in one North American city. Massachusetts: Harvard University.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

ใจก้อน ท. . (2022). สวนสาธารณะกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2523 –ปัจจุบัน . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 1(2), 85–101. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/550