การพัฒนาวิธีการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอด ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาวิธีการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอด 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอด 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลังจากได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 50 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างระดับยอด จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ชนิดเลือกตอบ (Multiple-choice items) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอดสูงกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอด คิดเป็นร้อยละ 74.05 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอดเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
The aims of this research were: 1) to develop teaching approach by using top-level structure technique, 2) to compare pretest and posttest scores of English reading ability of the third-year students after teaching top-level structure technique, and 3) to study satisfaction of the third-year students after learning through top-level structure technique. The samples of this study were 50 third-year Business English program students in the second semester of academic year 2015 selected by purposive random sampling using pretest and posttest. The instruments used in this research were: 1) four top-level structure lesson plans, 2) 40 items of English reading comprehension test with four multiple choices, and 3) 15 items of five-level rating scale satisfaction questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The result revealed that: 1) The English reading ability of the third-year students after teaching top-level structure technique was higher than before at 74.05 percent. 2) The overall satisfaction of the third-year students after learning through top-level structure technique was at high level.
References
ธนพร สงกรุง. (2550). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อวิชาภาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอดกับการสอนอ่านตามปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วันเพ็ญ สันทัดบุญฤทธิ์. (2548). ผลการสอนอ่านโดยใช้โครงสร้างระดับยอดที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน.
ศุภธิดา ศรีวิชัย. (2549). การใช้โครงสร้างระดับยอดและกลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ.
สิริธร พรเสนา. (2550). การใช้กิจกรรมโครงสร้างระดับยอดเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุนิจ โนรีรัตน์. (2555). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โครงสร้างระดับยอด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โสภิดา เทพวัลย์. (2554). ผลของการสอนโดยใช้เทคนิคโครงสร้างระดับยอดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังเหนือวิทยา อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อุมาวดี จันทร์ศรี. (2548). การวิเคราะห์โครงสร้างระดับยอด เพื่อการพัฒนาแบบฝึกหัดวิเคราะห์โครงสร้างระดับยอด สำหรับผู้เรียนการศึกษานอกโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Barlett, Bendon. (1985). Text Organization: A Base for Statistic Reading in Christie, F. et al. (Eds). Geelong : Dakin University Press, 1985
Eduzones. (2557). ทักษะการใช้ภาอังกฤษของคนไทยต่ำสุดในอาเซียน. วันที่ค้นข้อมูล 13 พฤศจิกายน 2558, จาก Eduzones เวปไซด์: https://blog.eduzones.com/wigi/122839
Milculecky, B.S. and Jefferies, L. (1986). Reading Power. Boston : Addison-Wesles Publishing Company.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.