การสร้างและการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น

Authors

  • ธัญทิพ บุญเยี่ยม
  • ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ

Keywords:

research based learning, text book, English for local tourism

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและชุมชน ประชากรได้แก่ นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ-ศรีสะเกษ จำนวน 64 คนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและเอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นการวิจัยพบว่า นักศึกษามีทักษะกระบวนการในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังจากเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นพื้นฐาน โดยกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษา เกิดทักษะในการทำวิจัยมากที่สุด คือการตั้งประเด็นเนื้อหาที่เหมาะสมในการทำเอกสารประกอบการสอน การค้นคว้าหาข้อมูลและการคัดสรรคำศัพท์ และโครงสร้างประโยคที่จะนำมาสร้างเอกสารประกอบการสอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทดสอบระหว่างเรียน (E1) มีค่าเท่ากับ 80.05 และคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทดสอบหลังเรียน (E2) มีค่าเท่ากับ 82.65 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 แล้วปรากฏว่าเอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้เอกสารประกอบการสอนมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.17

This research aims at 1) creating and developing a text book of English for Local Tourism course and 2) investigating the outcomes of implementing research participatory learning approach to enhance students’ ability of communication in the context of cultural tourism of students from Faculty of Humanities and Social Sciences majoring in Business English were chosen based on purposive sampling technique. Semi-structured interview, English for Local Tourism text book, and satisfaction questionnaire were used as tools in this inquiry. The study revealed that students reflected their development of self-directed learning skills after experienced research participatory learning approach. The most significant activity in driving students to reach skills of researcher, ranking in order, are establishing questions in order to conduct a text book, gathering data for the text book and choosing words and sentences’ structures to include in the text book’s tasks. The efficiency of learning process (E1) of the English for Local Tourism Text book is 80.05 and the efficiency of post test (E2) is 82.65 Compare to the standard criteria 80/80, it reveals that the English for Local Tourism has higher score than the standard criteria. The satisfaction questionnaire reflected that students are satisfying with the package learning at much level (mean= 4.08 sd.= 0.17)

References

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2558: 57-70) การใช้ชีวิต บทบาทการทำงานมุมมองด้านการศึกษาและประเด็นการประมูล 3G ในประเทศไทย. วารสารนิเทศ

ศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2558: 3). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2557). ผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 1.

พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2548: 263-290.). “การบูรณาการสอนโดยใช้การวิจัยวิเคราะห์เนื้อหาและกระบวนการเขียนในการสอนเขียนเรียงความภาษาอังกฤษเชิงอภิปรายโวหาร” ในการเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

วันวิสาข์ หมื่นจง. (2556). ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวสําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2556). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา BUS304 ระเบียบวิธิวิจัยทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.

สุนิตย์ ยอดขันธ์. (2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุพจน์ อิงอาจ.(2555).การจัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานวิชาการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้น ระดับปริญญาตรี. งานวิจัยภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว และคณะ. (2557). ประสิทธิภาพของเอกสารการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานบริการภาคพื้นสายการบิน.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 11.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

บุญเยี่ยม ธ. ., & ศักดิ์สิทธานุภาพ ป. . (2022). การสร้างและการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 1(2), 113–130. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/552