การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Authors

  • อนันศักดิ์ พวงอก

Keywords:

Information Literacy, Information Literacy Development, Sisaket Rajabhat University

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาแนวทาง การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 11,562 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยอ้างอิงตารางของเครซีย์และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน หลังจากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มโดยเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบทดสอบการวัดระดับการรู้สารสนเทศ จำนวน 35 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า สภาพทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาจากการตอบแบบทดสอบ พบว่า นักศึกษาทำคะแนนเฉลี่ยได้ 14.07 อยู่ในระดับต่ำ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 16.69 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 16.10 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ พบว่า นักศึกษาที่มีประสบการณ์ การเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้สารสนเทศมีคะแนนเฉลี่ย 14.07 อยู่ในระดับต่ำ แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากการสนทนากลุ่มได้แนวทางในการพัฒนา 7 แนวทาง ดังต่อไปนี้ 1) หลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชาการสืบค้นสารสนเทศ ควรจะเน้นให้เกิดการปฏิบัติมากกว่าการเรียนในภาคทฤษฎี 2) อาจารย์ต้องเน้นการสอนในชั้นเรียน และปรับขนาดของห้องเรียนให้เล็กลง 3) มหาวิทยาลัยควรมีนโยบายให้นักศึกษามีการเรียนรู้ผ่านการใช้ห้องสมุด ให้นักศึกษาได้ซึมซับกับการเรียนโดยอาศัยห้องสมุดเป็นฐาน ควรมีการอบรมทักษะการสืบค้นสารสนเทศให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และผู้ที่สนใจตลอดเวลาที่นักศึกษาต้องการ 4) ควรเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ 5) อาจารย์ผู้สอนต้องเน้นให้นักศึกษาเข้าใจและตระหนักว่าสารสนเทศที่น่าเชื่อถือมาจากแหล่งใดบ้าง โดยสอนให้นักศึกษารู้จักการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และไตร่ตรองในการใช้สารสนเทศ นอกจากจะสอนให้รู้แล้วต้องสอนให้นักศึกษาใช้สารสนเทศให้เป็นและใช้ได้อย่างถูกต้องด้วย 6) อาจารย์ผู้สอนควรจะสอนให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการอ้างอิง ฝึกให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติในการจัดทำรายงาน การเขียนบรรณานุกรมอย่างเข้มงวด 7) อาจารย์ควรเข้มงวดกับการนำเสนอสารสนเทศให้มีความถูกต้อง มีการอ้างอิงที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

This research aimed to 1) study the undergraduate students' information literacy skills. 2) study the information literacy skills development of Sisaket Rajabhat University undergraduate students. The population used in this research was 11,562 Undergraduate students of academic year 2017. Research samples cites the sample tables of Krejcies and Morgan, a sample of 375 were randomly sampled. Target audience in focus group used a selective approach. The instruments used in this study were 35 items of knowledge test. Statistics used in data analysis were frequency, percentage and mean. The results of the study revealed that : The information literacy skills of the students were found that the average score was 14.07 at the low level. Students in the Faculty of Humanities and Social Sciences had the highest average score of 16.69. When classified by year, it was found that 4th year students had the highest average score of 16.10. When classified according to the learning experience of information literacy, it was found that students with learning experience in information literacy had an average score of 14.07 at a low level. Guidelines for developing information literacy skills of undergraduate students Sisaket Rajabhat University from focus group method were 7 approaches as follows: 1) curriculum in the course of information retrieval should emphasize students to practice more than study in theory. 2) Teachers had to focus on teaching in the classroom and adjust to smaller classroom. 3) The university should have a policy to educate students through the use of libraries, therefore students were absorbed in learning by using the library as a base. Information should be provided to students in the first year and those who are interested all the time they need. 4) Should enhance English skills for students, which is an important factor in online information retrieval. 5) The instructors must focus on students to understand and recognize that the credible source of information by teaching students to think, analyze, synthesize and reflect on the use of information. 6) Teachers should teach the learners to be aware of the importance of referencing , take action strictly in writing academic report and bibliography. 7) Teachers should be strict about presenting accurate information, clear reference and accurate according to academic report writing.

References

ปภาดา เจียวก๊ก. (2547). การรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประภาส พาวินันท์. (2551). การรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัฒนาพร เทียมเมือง. (2554). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ.

มยุรี ลาวิลาส. (2553). ระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพายัพ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา) มหาวิทยาลัยพายัพ.

รัตนะ อินจ๋อย. (2553). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สัจจารีย์ ศิริชัย. (2552). การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพิศ ศิริรัตน์, ชุติมา สัจจานันท์, และพวา พันธุ์เมฆา. (2555). การรู้สารสนเทศของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 5(1), 26-38.

อังคณา แวซอเหาะ และสุธาทิพย์ เกียรติวานิช. (2553). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for ResearchActivities. Journals of Educational and Psychological Measurement. 30, 607

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

พวงอก อ. . (2022). การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 2(1), 7–22. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/553