การสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาทิวทัศน์การสร้างสรรค์ภูมิศิลป์กับความสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม

Authors

  • ธวัชชัย หอมทอง

Keywords:

lands art, Art relationships,, Art and environment

Abstract

ศิลปะแนวภูมิศิลป์ (Land art) ศิลปะกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Art) มีชื่อเรียกอย่างหลากหลาย เช่น Earth Art, Environmental Art, Environmental Sculpture, เป็นผลงานที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะที่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาพื้นที่ในการสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยง ห้องแสดงภาพ หอศิลปะ แกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ และปฏิเสธการซื้อขายผลงาน กระบวนการจึงเป็นสิ่งสำคัญ และอาศัยการบันทึกด้วยภาพถ่าย วีดีทัศน์ การจดบันทึกเท่านั้น การสร้างสรรค์งานรูปแบบนี้จึงถูกสร้างในพื้นที่ที่ห่างไกลผู้คน เป็นพื้นที่กว้างขวาง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ความหลากหลายของชุมชน เผ่าพันธุ์ ความขัดแย้ง ความงดงาม ความแปลก ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สภาพน้ำขึ้นน้ำลง การแปรผัน ของดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล มรสุม ความแห้งแล้ง ความแตกต่าง ด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นแรงปรารถนา แรงบันดาลใจ ความใคร่รู้ ความกระหาย ความต้องการในประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก จิตวิญญาณ ความแปลกใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏอยู่ในผลงานการสร้างสรรค์ของศิลปินจาก ทั่วทุก มุมโลก ก่อเกิดเป็นพลังงานกระตุ้นแรงบันดาลใจให้แก่นักสร้างสรรค์ นักทดลอง นักทดสอบ นักวิเคราะห์และสังเคราะห์ จนเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเอง ข้อมูลทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะแขนงนี้มีไม่มากนัก กอปรกับสถาบันทางศิลปะเองยังไม่ได้นำหลักปรัชญา หลักการ หลักวิชาการของศิลปะด้านนี้เข้าไปสู่บทเรียนมากนัก และยังคงเป็นงานสร้างสรรค์ที่ยัง สดใหม่ ส่วนใหญ่ จะนำมาเป็นหลักการ ทดลองด้านศิลปะ (Experimental Art) แน่นอนว่ากระบวนการเรียน การทดลองนี้ได้นำไปสู่ความอิสระในการเรียนรู้ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาเปรียบเสมือน การเปิดโลกจินตนาการ กระบวนการทางการสร้างสรรค์ ความกล้าที่จะเปิดทัศนคติให้กว้างขวาง หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่การเรียนการสอนศิลปะแขนงนี้ ครูศิลปะ ผู้สอนศิลปะยังไม่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงหลักการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ หลักปรัชญาหรือหัวใจสำคัญในการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง ผู้วิจัยจึงต้องการเน้นไปที่กระบวนการการทดลองสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนวิชาทิวทัศน์ โดยกระบวนการสร้างสรรค์ต่างๆ แตกต่างไปจากการวาดภาพในห้องเรียนซึ่งนักศึกษาแต่ละคนนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายทางความงามของวัตถุด้วยกรรมวิธีของตนเองเท่านั้น กรรมวิธีดังกล่าวจึงมีความสำคัญในการนำมาพัฒนาตัวนักศึกษาเองและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนวิชาทิวทัศน์ให้มีความหลากหลายรอบด้าน การเคารพธรรมชาติ ชุมชน พื้นที่ จึงเป็นกฎกติกาที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ผลการทดลองและสร้างสรรค์งานในครั้งนี้ ผู้วิจัยและนักศึกษาเองมีความพึงพอใจในระดับหนึ่งหมายถึงกระบวนการสร้างสรรค์ในลักษณะนี้นักศึกษาสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้ สิ่งสำคัญที่น่าสนใจคือผู้วิจัยได้สังเกตเห็นการรับผิดชอบต่อ การสร้างสรรค์ของนักศึกษา ซึ่งเสมือนการย้อนรอยไปสู่อดีตการผลิตสีต่างๆ เพื่อให้เกิดความงามแก่โลก แน่นอนว่าวิชาทิวทัศน์นั้นเป็นการแสวงหาความงดงามหลายๆ ด้านซึ่งนักสร้างสรรค์ นักศึกษา นักประดิษฐ์วิเคราะห์ต่างได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น

Land art, Environmental art also known as Earth Art, Environmental Art, Environmental Sculpture. These works took place in the late 1960s. The work is another form of the pursuit and space to create art. This process is so important, the process is to record with photos, videos, and notes. This model has been built in an area away from the crowds to capture a variety of communities, ethnic conflicts, the strange beauty and geographical differences, natural phenomena tidal conditions, variation of the moon, the seasonal, religion, culture, etc., These arts are a strong desire to inspire. These appear in the creative work of the artists from all over the world. This process is the inspiration for the creation of an experimental and synthesis. It is widespread around the world. In Thailand, the Information about arts education is not popular. These arts have not adopted the philosophy, the technical aspects of this art into lessons. The process of creation also remains fresh - new most are taken as a principle Experimental Art. These experiments have led to the freedom to learn. The courage is to make an open attitude. Thus, art teachers were still can not fully understand the principles. The creative philosophy or the key to a truly creative. This study focussed on the creative process of experimental related to learning landscape. The creative process is different from the drawing in the classroom. Such process is important in the development of the students and the development of teaching materials for diverse views of all sides. With Respect to natural communities, it is important to followd the rules for the creation of art. The Results found that the students' satisfaction level refers to the creative process in this way, students are able to develop themselves. What is interesting is that the researchers noticed was responsible for the creation of a student.

References

กอบกาญจน์ ภิญโญมารค. (2554). ธรรมชาติในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: อินทนิน.

จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2552). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

นิคม มูสิกะคามะ. (2545). วัฒนธรรม:บทบาทใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองศิลป์การพิมพ์.

มิชาเอล ไลลัค. (2552). แลนด์อาร์ต. เชียงใหม่ : ไฟร์อาร์ท.

Hannah_Höch. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. ได้จาก: https://en.wikipedia.org/wiki/Hannah_Höch[สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559].

Kurt_Schwitters. (ม.ป.ป.).[ออนไลน์]. จาก: https://en.wikipedia.org/wiki/Kurt_Schwitters [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559].https://www.gotoknow.org/posts/379917) [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559].

Max-ernst. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.tate.org.uk/art/artists/max-ernst- 1065 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559].

Motoi. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.motoi.biz/english/e_top/e_top.html) [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559].

Nikolaus Lang. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.curriculumsupport.education.nsw.gov.au/multicultural_art/artists/co nstruct_ourselves/co_art10_nikolaus.html [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2556].

Rainer Wittenborn. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. ได้จาก:http://de.wikipedia.org/wiki/Rainer_ Wittenborn [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2556].

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

หอมทอง ธ. . (2022). การสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาทิวทัศน์การสร้างสรรค์ภูมิศิลป์กับความสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 2(1), 23–34. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/554