การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนโดยการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Keywords:
Chinese, Teaching Chinese, Chinese Development, Learning approachAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน สร้างชุดการเรียนรู้ภาษาจีนเชิงรุก โดยกลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน จำนวน 101 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1/2560 มีขั้นตอนการดำเนินงาน 9 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ศึกษาเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยสอบถามนักศึกษาในสภาพความต้องการพื้นฐาน 2) การสัมภาษณ์ มีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาจีน 3) การสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาจีนจากความต้องการ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เอกสารการเรียนการสอนภาษาจีน โดยจัดทำแบบสอบถามออนไลน์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการเรียน สรุปข้อมูลและศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างสื่อการเรียน 4) การตรวจสอบคุณภาพชุดการเรียนรู้ภาษาจีน โดยผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพ โดยการตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้แบบประเมินประกอบการตรวจสอบความถูกต้องด้านภาษาและเนื้อหาสื่อการสอน 5) ปรับปรุงชุดการเรียนรู้ภาษาจีน (ก่อนใช้ )นำผลการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญและข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ก่อนนำไปใช้ 6) ทดลองการใช้ชุดการเรียนรู้ภาษจีน กับกลุ่มประชากร โดยใช้ชุดการเรียนรู้ภาษจีนกับนักศึกษา 7) การปรับปรุงชุดการเรียนรู้ภาษจีน (หลังใช้) หลังจากนั้นประเมินผลการใช้สื่อจากข้อเสนอแนะ นำผลที่ได้มาปรับปรุงชุดการเรียนรู้ภาษาจีน และทดลองใช้กับกลุ่มประชากร 8) นำชุดการเรียนรู้ภาษาจีน ที่ไปใช้ ทดลองใช้กับกลุ่มประชากร ทดลองใช้สื่อเป็น เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ 9) ประเมินผล วิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และประมวลผล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพและความต้องการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน จากข้อมูลที่สะท้อนกลับ เพื่อนำมาจัดทำชุดการเรียนรู้ภาษาจีนที่จะกระตุ้นผู้เรียน สามารถอธิบายได้ว่าการใช้ชุดการเรียนรู้ เมื่อได้นำชุดการเรียนรู้ภาษาจีนมาใช้ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองทำกิจกรรมด้วยตนเองจึงทำให้นักศึกษามีพัฒนาการด้านการเรียนภาษาจีนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการประเมินความพึงพอใจ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นหลังจากใช้ชุดการเรียนรู้ภาษาจีน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 และมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการเรียนรู้ภาษาจีนอยู่ในระดับพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83
This research is an applied research. The purposes of this study are to study the conditions and needs of students of Chinese major. The entire population is 101 students in the first semester of academic year 2017 at Sisaket Rajabhat University. According to the basic steps in the research process, the research method was divided into 9 phases; 1) basic data analysis, 2) design and development of the Chinese instructional set, 3) creating learning materials. Studying the basic information with online questionnaires, 4) verifying the Chinese instructional set by experts, 5) updating a Chinese Instructional set before using by experts, 6) applying such a Chinese instructional set the population, 7) updating a Chinese instructional set after using by experts, 8) analyzing this used Chinese instructional set and 9) evaluating of the Chinese Instructional set after using. The results were as follows: The research was found that after using Chinese Instructional set. The result was shown the average score (x̄) 4.40 and the population standard deviation (S.D.) 0.82 and the population was satisfied with the Chinese instructional set at the good level average score (x̄) 4.23 and standard deviation (S.D.) 0.83
References
กรรณิการ์ ปัญญาดี. 2558. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 : กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ์. 2526. การบริหารสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. 2526. ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารญาณและความเชื่อมั่นในตนเอง : กรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชามัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. 2551.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพฯ : โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
ฟาตีฮะห์ อุตส่าห์ราชการ. 2558. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Avtivelearning เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นไหวสะเทือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษาคณิตวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวเรศ ภักดีวิจิตร. 2557. เอกสารการประกอบเสวนาวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน” 30 กรกฎาคม 2557 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
ลิขิต ธีรเวคิน. 2549. บทบาทของประเทศจีนและภาษาจีนในศตวรรษใหม่. (7 มิถุนายน 2549). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจากhttp://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewID=9490000074640
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิปจิตตฤกษ์(แปล). 2554. ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพสำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์.
วิจารณ์ พานิช. 2555.วิธีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์.
สุรางค์ โควตระกูล. 2544. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ -21. www.addkutec3.com/wp-content/uploads/2012/11/www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf
Suwannatthachote, P. 2555. Active Learning. วันที่ค้นข้อมูล 7 กรกฎาคม 2555, เข้าถึงได้จากhttp://www.academic.chula.ac.th/elearning/content/active%20learning_Praweenya.pdf
Tawan Prayord. 2557. 10 ภาษายากที่สุดของโลก. http://www.scholarship.in.th/10-ภาษายากที่สุดของโลก
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.