แนวทางการใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Keywords:
Information used, 1st year student of Faculty of Humanities and Social Sciences Sisaket Rajabhat UniversityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพการใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และปัญหาที่เกิดจากการใช้สารสนเทศในการเรียน ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสารสนเทศให้ตรงกับการใช้ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 174 คน และตัวแทนสาขาวิชาละ 1 คนจาก 8 สาขาวิชา จำนวน 8 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2560 โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ลักษณะ คือ 1) สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพและปัญหาที่เกิดการใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษา 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาที่เกิดการใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามมี 3 ลักษณะคำถาม คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศในการเรียน จากแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือแหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชนตามลำดับ ส่วนรูปแบบสารสนเทศที่นักศึกษาใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ สารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รองลงมาคือสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบ สื่อมวลชนตามลำดับ ส่วนเครื่องมือที่นักศึกษาใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศที่ใช้มากที่สุดได้แก่ Search Engine เช่น Google, Yahoo รองลงมาคือ Web OPAC สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นแหล่งสารสนเทศ เช่น Facebook ของหน่วยงานต่าง ๆ ฐานข้อมูลต่างๆ ตามลำดับ ส่วนปัญหาที่เกิดจากการใช้สารสนเทศในการเรียน ด้านแหล่งสารสนเทศ พบว่า นักศึกษาส่วนให้เห็นว่าผู้ให้สารสนเทศขาดความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดสารสนเทศจึงทำให้ไม่ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บสารสนเทศของแหล่งสารสนเทศแต่ละแหล่ง รวมไปถึงสารสนเทศบนเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้เกิดปัญหาในการอ้างอิง และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ด้านรูปแบบสารสนเทศที่ใช้ในการเรียน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหา ในด้านหนังสือตำราวิชาการแบบเรียนไม่เพียงพอ หนังสือพิมพ์ไม่เพียงพอ วารสารวิชาการ บันเทิง นิตยสารไม่เพียงพอตามลำดับ ส่วนรูปแบบสารสนเทศที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่นักศึกษาเห็นว่าไม่ทราบวิธีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ และไม่ทราบว่ามีฐานข้อมูลออนไลน์ให้บริการ ส่วนเครื่องมือที่ใช้เข้าถึงสารสนเทศที่ใช้ในการเรียน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาด้านไม่เข้าใจสัญลักษณ์ที่ใช้ค้นหาหนังสือเช่นเลขเรียกหนังสือ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Wifi) ไม่เสถียร รวมไปถึงจุดปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอตามลำดับ
The purpose of this research is to study the use of information in the study of first year students. Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University and problems arising from the use of information in the classroom. In addition to the suggestions for the design of information to match the use of students. The samples used in this study were: 1st year student of Faculty of Humanities and Social Sciences Sisaket Rajabhat University 174 students and one representative from each of 8 subjects 8 students enrolled in semester 1 / 2017. There are two methods of conducting research. 1) structured interview about the condition and problem of using information in the student's study; 2) questionnaire about the condition and problem of using information in the student's study. The research instruments were a structured interview and questionnaire. There are 3 types of questionnaire: checklist valuation scale and open end. The statistics used in the research were percentage, mean and standard deviation. The research found that the use of information in the study of 1st year students in the Faculty of Humanities Sisaket Rajabhat University. Most students use information from electronic Information sources. Second, the person information source. Information resource institute. And media sources, respectively. Information format used by most students. Included information in an electronic form, second, information in the form of print material, and the information in the mass media, respectively. The tools that students use to access the most information are: Search engine like google, yahoo. The second is Web OPAC. Social media is a source of information, such as Facebook, of various agencies, databases, respectively. The problem of using information in learning. The source of information: The students showed that the information providers lacked the knowledge and ability to transfer information, so they did not have the information they needed. Lack of knowledge about the storage system of each source. The information on the website has changed frequently, causing problems in the reference. And the connection to the Internet is not stable. The information format used in the study found that. Most students have problems in reading books. Newspaper is not enough. Academic Journal The magazine is not enough, respectively. The electronic information format. Most students do not know how to use online databases. And do not know if there is an online database available. The tools used to access the information. Most students have trouble understanding symbols used to find books. And Including the Internet (Wifi) is not stable. The Internet is not enough.
References
กฤติกา สุนทร. (2549). การใช้สำนักวิทยบริการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กุทัย หาระพันธ์. (2555). การใช้สารสนเทศของพระนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จันทร์เพ็ญ สิงหนุต. (2544). พฤติกรรมการใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิตปาฏี พิบูลย์. (2547). การใช้สารสนเทศของผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพลักษณ์ ทองศาสตรา. (2547). “การใช้ทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ” . วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 7,1 (ม.ค. – มิ.ย.) : หน้า 77-94.
นฤมล เกรียงเกษม. (2555). การใช้สารสนเทศของคณาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิสากร กรวยสวัสดิ์. (2549). การใช้ห้องสมุดวิทยาเขตหนองคายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญมา ไชยะสิทธิวง. (2552). การใช้ทรัพยากรสารสนเทศในหอสมุดกลางของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว วิทยาเขตดงโดก. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุหลัน กุลวิจิตร (2558) “ศึกษาการใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. วารสารฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะ. 8,1 (ม.ค. – เม.ย.) : หน้า 868-886.
ประภาวดี สืบสนธิ์, 2530. การใช้และการแสวงหาสารนิเทศของเกษตรกร อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพรรณ กลิ่นศรีสุข. (2547). การใช้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริสุภา เอมหยวก (2549) .การใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษาภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. พิษณุโลก : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
สยุมพร บุญไชย. (2550). การใช้ห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนันศักดิ์ พวงอก. (2558). “การศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ”.วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2,1 (ม.ค. – มิ.ย.) : หน้า 23-38.
R.V. krejcie and V.D. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for ResearchActivities”.Educational and Psychological Management. 80 (1970) 608.
Wilson,T.D. (1994). “Information Needs and User : Fifty Years of InformationProgress?” In Vickery, B.C., ed. Fifty Years of
Information Progress : A Journal of Documentation Review.pp.15-51. London Asli.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.