สัทวิทยาชาติพันธุ์เพื่อความสัมพันธ์ตามแนวชายแดน ไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา

Authors

  • ณัฏฐนันท์ ภูเบศพินธคุปต์

Keywords:

Ethnic Languages, Phonology, Thailand–Cambodia, Thailand–Laos, The relation along border

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัทวิทยาและการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา วิเคราะห์องค์ประกอบและรูปแบบสัทวิทยาและการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในการสื่อสารเพื่อความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา และจัดทำคู่มือสัทวิทยาชาติพันธุ์ เพื่อความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography approach) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามจำนวน 500 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาษาชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา มีหลากหลายภาษาตามกลุ่ม ตระกูล หรือชาติพันธุ์ ดังนี้ 1.1) ภาษาชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนไทย-ลาว อาทิ ภาษาภูไท ไทย้อ ไทดำ ถิ่นไทยยูนนาน ฯลฯ 1.2) ภาษาชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อาทิ ภาษากูย ภาษาผีปะกำ ภาษากลุ่มกะซองและซัมเรฯลฯ และ 2) ภาษาชาติพันธุ์สร้างความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา พบว่า ไม่ว่าชาติพันธุ์ต่างๆ จะสื่อสารกันด้วยภาษาใดก็ตาม หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ยังคงมีการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมด้วยความเข้าใจ และมีสันติสุขตามแนวชายแดนไทย-ลาว และชายแดนไทย-กัมพูชา

The objective of this research were to study the phonology and the languages using of ethnic groups along the border of Thailand-Laos and Thailand-Cambodia; To analyze the component and the form of Phonology and languages using by the ethnic groups that communicate along the border of Thailand-Laos and Thailand-Cambodia; and to create the Phonology of ethnic handout to make a relation along the border of Thailand-Laos and Thailand-Cambodia. This research is a qualitative study using ethnography approach and the quantitative study by using a selection of sample by purposive sampling technique. And to gather the data by using the In-depth interviews and the questionnaires form with total of 500 samples. The result of this study are: 1) there were various of ethnic languages using along the border of Thailand-Laos and Thailand-Cambodia as of 1.1) ethnic languages along Thailand-Laos border such as Phutai, Nyaw, Tai Dam, Tai Yunnan, etc.1.2) ethnic languages along Thailand-Cambodia border such as Kuy, Phi-Pakam language, Ka-song group, and Sum-Re, etc. 2) ethnic languages are related along the border of Thailand-Laos and Thailand-Cambodia found that whatever different ethnics and communicate with any languages, the government agencies, the private sector and the public sector still create a harmony in the society with understanding each other and making peace along the border of Thailand-Laos and Thailand-Cambodia.

References

ซาว. 2558 : 30 ธันวาคม. ชาวบ้านตลาดช่องจอมสุรินทร์ เมืองโอร์เสม็ด อุดรมีชัย กัมพูชา. [บทสัมภาษณ์].

ณรงค์ ปัญญาวัฒโน. 2558 : 22 ตุลาคม. เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. [บทสัมภาษณ์].

นิยม ไวยรัชพานิช. 2550. ยุทธศาสตร์การค้าชายแดน. เอกสารประกอบการบรรยาย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย.

นันตพร นิลจินดา. 2532. การศึกษาเรื่องศัพท์ภาษาญ้อในจังหวัดสกลนคร นครพนม และปราจีนบุรี. (ปริญญาโทนิพนธ์ สาขาวิชาจารึกภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

บ้านจอมยุทธ. 2543. ประเทศไทย 77 จังหวัด(ภาคเหนือ). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2556. จากบ้านจอมยุทธ

ประกอบ ผลงาม. 2538. สารนุกรมกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเดิม พันธุ์วิไล. 2558 : 12 พฤศจิกายน. ชาวบ้าน บ้านหัวเมืองเหนือ เมืองไกสอน พรมวิหาร แขวงสะหวันเขต สปป.ลาว. [บทสัมภาษณ์].

ไผท ภูงา. 2559 : 2 มกราคม. ชาวบ้าน บ้านหัวเมืองเหนือ เมืองไกสอนพรมวิหารแขวงสะหวันเขต สปป.ลาว. [บทสัมภาษณ์].

พระครูอุทัยธรรมโกศล. 2558 : 28 ตุลาคม. พระภิกษุในเขตพื้นที่ช่องจอมสุรินทร์เมืองโอร์เสม็ด อุดรมีชัย กัมพูชา. [บทสัมภาษณ์].

เพี๊รยะ. 2558 : 22 ตุลาคม. แม่ค้าตลาดไทช่องจอมสุรินทร์เมืองโอร์เสม็ด อุดรมีชัย กัมพูชา. [บทสัมภาษณ์].

ยงยุทธ กิติวรรณกุล. 2558 : 22 ตุลาคม. เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. [บทสัมภาษณ์].

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมทรง บุรุษพัฒน์. 2524. การเล่นคอนของลาวโซ่งที่บางกุ้ง. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุจินดา โชติพานิช. 2552. โครงการเรียนรู้ตลอดชีวิต:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิต. สำนักงานหอสมุดและศูนย์ข้อสนเทศวิทยาศาสตร์. คณะกรรมการวิจัย.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.กรุงเทพฯ

สุต สุริน. 2558 : 22 ตุลาคม. ชาวบ้านบริเวณตลาดไทช่องจอมสุรินทร์ เมืองโอร์เสม็ด อุดรมีชัย กัมพูชา. [บทสัมภาษณ์].

สุวิไลและคณะ. 2547. จัดเป็นกลุ่มภาษาในภาวิกฤตใกล้สูญ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2559. จากบูรพา โชติช่วง. ภูมิบ้านภูมิเมือง-ภาษาชาติพันธุ์ชายแดนไทย-เขมร. เว็บไซต์ : http://www.siamrath.co.th/web/?q=node/35371.

สุรัตน์ วรางค์รัตน์. 2530. การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

สุเพีย ออมรอง. 2558 : 30 ธันวาคม. พนักงานคิโน ช่องจอมสุรินทร์ เมืองโอร์เสม็ด อุดรมีชัย กัมพูชา. [บทสัมภาษณ์].

อาทิตย์ ลาวัลย์. 2559 : 10 เมษายน. ชาวบ้านตลาดสวรรค์ไชย บ้านหัวเมืองเหนือ เมืองไกสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันเขต สปป.ลาว. [บทสัมภาษณ์].

อินทสอน พรมวงศ์. 2559 : 10 เมษายน. แม่ค้าตลาดสวรรค์ไชย บ้านหัวเมืองเหนือ เมืองไกสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันเขต สปป.ลาว. [บทสัมภาษณ์].

อัจฉรา ภาณุรัตน์. 2549. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Benedict, Paul K. 1942. "Thai, Kadai, and Indonesian: A New Alignment in Southeastern Asia." In American Anthropologist, 44, no. 4: 576--601.American Anthropological Association.cite. STATS (21)

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

ภูเบศพินธคุปต์ ณ. . . (2022). สัทวิทยาชาติพันธุ์เพื่อความสัมพันธ์ตามแนวชายแดน ไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 2(1), 78–98. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/558