ความสำคัญของห้วยสำราญในบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ที่มีต่อเมืองศรีสะเกษ
Keywords:
Huai Samran, Si Sa KetAbstract
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความสำคัญของห้วยสำราญในบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่างที่มีต่อเมืองศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในเชิงภูมิศาสตร์ ผลจากการวิเคราะห์ทำให้ทราบถึงความสำคัญของห้วยสำราญในบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือนถนนที่เชื่อมติดต่อระหว่างอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง เป็นที่ตั้งชุมชนสมัยเมืองศรีนครเขตขุขันธ์ และเมืองศรีสะเกษ เป็นเส้นทางอพยพผู้คนในการเดินทางมาสร้างบ้านแปงเมืองนอกจากนี้ห้วยสำราญยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจต่อเมืองศรีสะเกษ ทั้งนี้เมืองศรีสะเกษเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งต้องใช้น้ำเพื่อทำการเพาะปลูก เป็นที่ตั้งชุมชน เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้คนระหว่างจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ระบบลำน้ำยังทำให้คนในสมัยนั้นมีชีวิตผูกพันอยู่กับน้ำ ดังจะเห็นได้จากที่ตั้งและการสร้างบ้านเรือน อาวุธ ตลอดจนศิลปะการละเล่นประกอบงานรื่นเริงต่าง ๆ และเต็มไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อที่เคารพในสายน้ำ ขณะเดียวกันระบบลำน้ำยังเป็นตัวชักนำให้เกิดการติดต่อกับคนต่างถิ่น ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมจากภายนอกหลั่งไหลเข้ามาในเมืองศรีสะเกษ เช่น วัฒนธรรมลาว และจีนซึ่งได้ผสมผสานไปกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของศรีสะเกษ ดังจะเห็นได้จากประเพณีชาวบ้านทำให้ศรีสะเกษกลายเป็นเมืองนานาชาติพันธุ์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
This article had an objective to study the importance of Huai Samran in the lower Mun basin to Si Sa Ket which using the geographic history analysis. The results of the analysis revealed the importance of Huai Samran in the lower Mun basin that was function as a road for connecting the districts in Si Sa Ket including nearby provinces. It was the location of a community in the period of Muang Sri NakhonKhet Khu Khan and Si Sa Ket. It was the immigrated route for peoples to settle down. Moreover, Huai Samran was also important for economy of Si Sa Ket because Si Sa Ket was considered as an agricultural area requiring water for cultivated. Si Sa Ket was also the location of the community with the transporting route for transporting goods and peoples between Nakhon Ratchasima and Ubon Ratchathani. In addition, the channel system also made people in that period get attached with the water as seen in their location, house construction, weapons, arts and the peforming among the ceremonies. And they also had a rich of traditions, cultures, and beliefs to pay respect to the water. Simultaneously, the channel system have an influencial that causing a contact with outsiders. Which causing an external culture started to flow into Si Sa Ket, for example, Laos and Chinese culture that has been integrated with tradition culture of Si Sa Ket reflecting in current tradition of local people. As a result, Sisaket became the multi-ethnic provinces that was one of most popular in the northeastern part of Thailand.
References
กรรณิการ์ ธรรมวัติ . (2534). วิเคราะห์ชื่อหมู่บ้านในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (ภาษาไทย). มหาสารคาม :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.
ชลิต วิพัทนะพร. (2529). การอพยพย้ายถิ่นในดินแดนอีสานระหว่าง พ.ศ. 2321– 2453. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.
ดี.จี.อี.ฮอลล์. (2522). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1. แปลโดยคุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคนอื่นๆ. กรุงเทพฯ:สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาคนและสังคมกับการแก้ไขอุทกภัยอย่างยั่งยืน ฐานความหลากหลายทางชีวภาพ “ห้วยสำราญ” จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษา และพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
ประนุช ทรัพยสาร. (2545). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสาน. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ. (2529). ศรีสะเกษ: จังหวัดศรีสะเกษ.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2560, ม.ค.-มิ.ย.). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทย. วารสาร วิชาการมนุษย์และสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 1(1) : 8-26.
ภราดร ศรปัญญา และคนอื่นๆ. (2558 ก). ศรีสะเกษจังหวัดของเรา 1:ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. อุบลราชธานี: บริษัท ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
ภราดร ศรปัญญา และคนอื่นๆ (2558 ข). ศรีสะเกษจังหวัดของเรา 2: ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การคมนาคมและสิ่งแวดล้อม. อุบลราชธานี: บริษัท ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ศรีสะเกษในโอกาสการย้ายศาลากลางครบ 100 ปี. (2548). ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัด ศรีสะเกษ. (2544). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
วิลาศ โพธิสาร. (2536). รถไฟกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ระหว่างปี พ.ศ. 2469- 2484. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.(ประวัติศาสตร์). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ถ่ายเอกสาร.
ศิรชัช พรหมดี. (2555). ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สโมสรศิลปินศรีสะเกษ.
ศูนย์ศรีสะเกษศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2550). ห้วยสำราญ: แหล่งน้ำคู่เมืองศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: ศูนย์ฯ.
ศศิธร อุทิศเชวงศักดิ์. (2555). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสำราญ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
สุพร สิริพัฒน์. (2542). ของดีศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : ส.พุงพงศ์.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.