การสร้างและสื่อความหมายบทละครเวทีเรื่อง “พระมหาชนก” จากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
Keywords:
Interpretation of stage play “Mahajanaka”Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทละครเวทีและวิเคราะห์การสื่อความหมายของบทละครเวทีเรื่อง “พระมหาชนก” บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยผู้วิจัยทำการศึกษาจากหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก The story of Mahajanaka ปีพ.ศ. 2539 และภาพยนตร์แอนิเมชั่น เรื่อง พระมหาชนก The Story of MAHAJANAKA ปีพ.ศ.2558 ประกอบกับการใช้จินตนาการ และเทคนิคต่าง ๆ ในการเขียนบทละคร เพื่อสร้างบทให้ตัวละครในการแสดงละครเวทีเรื่อง “พระมหาชนก” สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีการสื่อสาร แนวคิดเรื่องการสื่อความหมาย แนวคิดเกี่ยวกับการละคร แนวคิดเกี่ยวกับการเขียนบทละคร แนวคิดการเล่าเรื่อง (Narrative) แนวคิดเชื่อมโยงตัวบท (Intertextuality) และความเป็นมาของบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเรื่องพระมหาชนก จากการศึกษาพบว่า การสร้างและสื่อความหมายบทละครเวทีเรื่อง “พระมหาชนก” จากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สามารถทำให้เราทราบถึงแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้ คือ การมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลมกำลังกายที่สมบูรณ์ คติธรรม ข้อคิดในการดำรงชีวิตของพระมหาชนก พระราชนิพนธ์ โดยมุ่งเน้นการเตือนตนเองให้ไม่ประมาท ไม่หลงอำนาจ ไม่เป็นทาสผลประโยชน์ สำหรับการสร้างบทละครเวทีเรื่อง “พระมหาชนก” มุ่งนำเสนอให้เห็นถึงเรื่องความเพียรพยาม สติ และปัญญา ซึ่งพระมหาชนกได้สอนให้มีความมุ่งมั่น แม้ยังไม่เห็นผลสำเร็จหรือต้องเผชิญภาวะเรือแตกก็มีความมุ่งมานะ ว่ายน้ำข้ามทะเลโดยไม่ย่อท้ออยู่ถึง 7 วัน จนมีนางมณีเมขลามาช่วย ซึ่งผู้ชมละครจะได้นำข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากเรื่องไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ความเพียร สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน การทำงาน เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ การมีความเพียร หรือวิริยะบารมี คือ การกล้าตัดสินใจ กล้าเผชิญหน้ากับความจริง ทำสิ่งที่ถูกต้องหมั่นพยายามพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ก็จะประสบความสำเร็จได้
This qualitative research aimed to create the stage play and analyze the interpretation from script of “Pra Mahachanok” from the compositions of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The researcher studied from the book “The Story of MAHAJANAKA” in 1996 and the animated film in 2015 along with the use of imagination and techniques in writing script to create characters in the stage play “Pra Mahachanok”. Researcher used communication theory as well as concepts of interpretation, plays, writing script, narration, intertextuality, and background of compositions of His Majesty King Bhumibol Adulyadej “Pra Mahachanok”. According to study, creation and Interpretation of the stage play “Pra Mahachanok” from the compositions of His Majesty King Bhumibol Adulyadej made us aware of the ways to adapt to our living. Pure diligence, wisdom, moral, and concept of living in “Pra Mahachanok” focused on reminding oneself not to slight, being misled in power and benefit. On the creation of the play “Pra Mahachanok”, it focused on diligence, consciousness, and wisdom, which Pra Mahachanok taught to be engrossed. Although there was no achievement and shipwreck, but he was able to swim across the ocean for seven days until Mekhala rescued. Dramatic viewers can be able to adapt these ideas to their everyday life. Diligence can be applied to learning and working in order to be succesful. Diligence was being brave in making decision, facing the truth, doing the right things, and trying to develop oneself in order to be successful.
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แบรนด์เอจ.
ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. (2539). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเลขเป็นสตรี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล. (2550). การสื่อความหมายเชิงสัญรูปของการสื่อสารเชิงกราฟิก สำหรับงานโทรทัศน์เฉพาะเรื่อง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์. (2546). เอกสารประกอบการสอน พื้นฐานการเขียนบทละคร. กรุงเทพฯ: โรงเรียนบางกอก การละคอน. (อัดสำเนา)
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2551). บทโทรทัศน์เขียนอย่างไรให้เป็นมือโปร. กรุงเทพฯ:คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรยุทธ บุญมี. (2551).ความงามในการแต่งหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ห้างหุ่นส่วนจํากัดภาพพิมพ์.
ทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์, ดวงหทัย ศรัทธาทิพย์ และละลิตา ฉันทศาสตร์โกศล. 2546. คนเขียนบท. กรุงเทพฯ: มติชน.
พรรัตน์ ดำรุง. (2555). ละครประยุกต์:การใช้ศิลปะการละครเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรณี คุรุรัตนะ. (2540). เด็กปฐมวัยในท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง. วารสารการศึกษาปฐมวัย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.2540 หน้า 43-51.
ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ (2548). เรื่องเก่าเล่าใหม่ 3. การกำกับศิลป์สำหรับละครร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลยา วิวัฒน์ศร. (2538). วรรณวินิจ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิมล สันติราษฎร์ภักดี. (2539). การวิเคราะห์เปรียบเทียบการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยผ่านสื่อนวนิยายและสื่อละครโทรทัศน์เรื่อง“สี่แผ่นดิน”.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สดใส พันธุมโกมล. (2542). การละครสมัยใหม่: จาก Henrik Iben ถึงละครสมัยใหม่ทางโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สร้างสรรค์ สันติมณีรัตน์. (2551). การศึกษาทดลองกระบวนการสร้างบท การแสดงและการสื่อสารของบทละครเวทีแสดงเดี่ยวของกะเทย เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองและสังคม :กรณีศึกษาเรื่อง พุดเดิ้ลน้อย ทาโร่. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีย์ ทองสมาน. (2542). การวิเคราะห์เปรียบเทียบบทละครโทรทัศน์กับนวนิยาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิวัฒน์ อ่อนแก้ว. (2551). การส่งความสุขปีใหม่ด้วยสื่อบัตรอวยพร โทรศัพท์เคลื่อนที่ และไฮเปอร์มีเดีย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.