การสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาจิตรกรรม

Authors

  • ธวัชชัย หอมทอง

Keywords:

Painting

Abstract

การสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาจิตรกรรมเป็นการสร้างสรรค์ทดลองเพื่อให้การเรียนการสอนทางด้านศิลปะให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง ความงามที่พิสูจน์ได้ด้วยหลักทางทฤษฎี หลักทัศนียภาพ หลักการวัดทางคณิตศาสตร์จึงมีความจำเป็นถึงการนำหลักการเหล่านี้มาบูรณะเข้าสู่ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะบทเรียนทางด้านศิลปะและการออกแบบ เพื่อสร้างทักษะ ความงาม สติปัญญา ความเชื่อ ความไว้ใจในสิ่งเร้นลับ จนนำมาสู่การยอมรับให้กับการแรงบันดาลใจให้กับนักสร้างสรรค์ศิลปะ สถาปนิก นักออกแบบด้านต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงต้องการเน้นไปที่กระบวนการการทดลองสร้างสรรค์อย่างเป็นลำดับขั้นตอนในการนำมาพัฒนาตัวนักศึกษาเองให้มีความหลากหลาย สามารถนำเสนอความงามทางด้านศิลปะผ่านมุมมองด้วยประสบการณ์ของตนเองไปถ่ายทอด สอนให้กับครู อาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเรียนที่สนใจในจิตรกรรมสามมิติโดยการนำนักศึกษาทดลองใต้อาคาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และชุมชนบ้านกู่จำนวน 3 ครั้ง พร้อมกับการติดตั้งส่งมอบให้ชุมชนสำหรับจัดนิทรรศการต่าง ๆ ผลการทดลองและสร้างสรรค์งานในครั้งนี้ ผู้วิจัยและนักศึกษาเองมีความพึงพอใจในระดับมาก หมายถึง กระบวนการสร้างสรรค์ในลักษณะนี้นักศึกษาสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้ สิ่งสำคัญที่น่าสนใจคือ ผู้วิจัยได้สังเกตเห็นการรับผิดชอบต่อการสร้างสรรค์ การศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ในชุมชน ซึ่งเสมือนการย้อนรอยไปสู่อดีตอันทรงคุณค่าโดยได้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวาดเส้นพื้นฐาน จำนวน 8 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ“ความงดงามบนลวดลายศิลปะขอม 1” “ความงดงามบนลวดลายศิลปะขอม 2” และรายวิชาจิตรกรรมสีน้ำ จำนวน 16 ชั่วโมงโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมาย ความงามรูปทรงจากศิลปะขอม ความรู้/ความเข้าใจ-ความเข้าใจในทัศนียภาพและกรรมวิธีการสร้างสรรค์ และการวาดนอกตารางเวลาเรียนและนอกสถานที่จำนวน 3 ครั้ง

The development of Curriculum document in the field of painting is to establish creative Experiment to provide effective instruction in the arts. The meaning of an aesthetic proven by theoretical principles, Landscape Mathematical principles. It is necessary to bring these principles into the culture, especially for the art lesson. It is necessary to bring recognition to the inspiration for art creators, architects, and designers. The researcher focuses on the creative process in a sequential way to develop students diversely. Students will be able to present the beauty of art through their own experiences. Students were interested in three-dimensional painting. The experimental results as their creative work that presented 3 times at Ku village. Researchers and students were satisfied with their work at a good level of satisfaction. This is a creative process in which students can develop themselves. The important thing that the researchers have noted is the responsibility for creating. The study of Community History brought back good values. This study has developed Curriculum document for 24 hours and 3 lessons for outdoor drawing.

References

ทรงสมัย สุทธิธรรม. (2553). ความลับในปราสาทขอม. กรุงเทพฯ: ไพลิน.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว. “ปราสาทขอมในประเทศไทย.” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 30. (ออนไลน์), 2548. เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2558.

สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล. (2550). 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สุภัทรดิศ ดิศกุล,ม.จ. (2514). ศิลปะขอมเล่ม 2. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

หอมทอง ธ. . (2022). การสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาจิตรกรรม . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 2(2), 37–49. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/564