การฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • วิทยา ลิ้มจิตรกร

Keywords:

Indigenous Medical Wisdom for Folk Medicine, Holistic Health, Thai-Laos Ethnic Groups

Abstract

การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) จัดทำกรณีศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวใน 2 ประเทศ และ 3) วิเคราะห์องค์ประกอบภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาแนวชาติพันธุ์วรรณนา ผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำศาสนา ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน รวมทั้งสิ้น 40 คน ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว จำนวน 557 คน โดยการคัดเลือกจากประสบการณ์และคุณสมบัติ ใช้สถิติวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษา 1) ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวพบว่า ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านมีแบบแผนและที่มาตั้งแต่อดีตสมัยบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาในรูปแบบที่คล้ายกันทั้ง 2 ประเทศ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวนั้น มีหมอพื้นบ้านที่เป็นทั้งพระภิกษุและฆราวาสที่อยู่ในชุมชนคอยดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของประชาชนเมื่อเกิดเจ็บป่วย จะใช้สมุนไพรที่หาได้ในป่าชุมชนและปลูกไว้ใช้เอง โดยใช้วิธีการรักษา คือ การผสมยาสมุนไพรให้กิน ในบางรายใช้วิธีเป่าเพื่อเชื่อมต่อกระดูกของผู้ป่วย และเมื่อประชาชนมีเคราะห์ ก็ทำพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นรูปแบบการพึ่งตนเองทางสุขภาพของชุมชนที่มีแบบแผนการบูรณาการการดูแลทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นแบบองค์รวมทุกภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีความรักสามัคคีกัน ช่วยเหลือเจือจุนกัน 2) กรณีศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับการแพทย์พื้นบ้านแบบพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวเป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีประวัติการสืบทอดของชนเผ่ามาอย่างยาวนาน มีการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มจะเชื่อฟังผู้นำ มีความสามัคคีในหมู่คณะ นับถือศาสนาพุทธ มีความมานะอดทน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยก็จะมีการรักษาโดยใช้สมุนไพรฝนผสมกับน้ำโดยมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีอยู่และหาได้ในท้องถิ่น ใช้ในการรักษายามเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยแล้วไปหาหมอที่โรงพยาบาลแล้วรักษาไม่หาย ชาวบ้านจะมาหาพระครูที่วัด พระครูจึงผสมยาสมุนไพรให้รับประทาน บางครั้งก็จะจ่มคาถาและบทสวดมนต์แล้วเป่าลงไปในยาฝนนั้น เมื่อคนเจ็บไข้ได้ป่วยกินยาก็จะหายป่วยได้ ชาวบ้านจะชื่นชอบแบบแผนหมอพื้นบ้านที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวก และสามารถดูแลสภาพจิตใจได้อย่างดี เพราะเป็นผู้ที่เข้าใจบริบทชุมชน เข้าใจวัฒนธรรมประเพณีในชุมชนได้เป็นอย่างดี จึงเป็นการพึ่งตนเองของชุมชนในด้านภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านแบบองค์รวม คำว่า “พระ หมอ ครู” จึงมีความหมายครอบคลุมสังคมและวัฒนธรรมด้านสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบสานมาแต่อดีตด้วยระบบการใช้สมุนไพรพื้นบ้านทำให้ประชาชนอยู่กันอย่างสันติสุข 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว พบว่า องค์ประกอบทั้งหมด ที่ได้จากการวิเคราะห์มีทั้งสิ้นจำนวน 4 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับค่าไอเกน (Eigen value) จากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) องค์ประกอบที่ 1 คือ “จิตอาสาและสามัคคีเพื่อการเรียนรู้เภสัชวัตถุ 108 ในสวนครัว โดยกลไก “บวร” และการมีส่วนร่วมในบุญประเพณี 12 เดือน” ค่าไอเกน เท่ากับ 11.043, 2) องค์ประกอบที่ 2 คือ “การผลิต การบริโภค และพิธีถวาย “น้ำปานะ” คือกระบวนระบบการพัฒนาสูตรยา 3 ฤดูที่ผนวกหลักธรรมเรื่องกฏแห่งกรรมเพื่อฟื้นฟูวิชาการแพทย์พื้นบ้าน” ค่าไอเกน เท่ากับ 8.811, 3) องค์ประกอบที่ 3 คือ “การปฏิบัติตามฮีตคอง 12 ข้อ ทำให้เกิดชุมชนสุขภาวะ ส่วนรายบุคคลก็ปฏิบัติตามข้อห้ามศีล 5 และสังฆาธิการก็แสดงบทบาท “พระ-หมอ-ครู” เพื่อสุขภาพองค์รวมและการสาธารณสุขแบบอย่าง” ค่าไอเกน เท่ากับ 7.742 และ 4) องค์ประกอบที่ 4 คือ “การอนุรักษ์ป่าและฟื้นฟูนิเวศวิทยาวัฒนธรรมไผ่และกล้วย คือ การกำหนดเมนูอาหารและยาเพื่อการแพทย์แบบพึ่งตนเอง” ค่าไอเกน เท่ากับ 7.150

This research entitled “Indigenous medical wisdom for holistic health related to self-reliance on Thai-Laos ethnic groups in Thailand and Lao People’s Democratic Republic” the objectives of this study are 1) to study the indigenous medical wisdom for the holistic health related to self-reliance on Thai-Lao People’s Democratic Republic, 2) to conduct a case study based on the self-reliance aspect of these two Thai-Laos ethnic groups, and 3) to analyze the elements of the indigenous medical wisdom for holistic health related to self-reliance on Thai-Laos ethnic groups in Thailand and Lao People’s Democratic Republic. The research methodology is a qualitative research approach with an ethnographic in nature integrated with the method utilized with quantitative research. As for the qualitative part of the research was a semi-structured in-depth interview. The main informants are including folk healers, village scholars, religious leaders, the elderly, and community leaders, overall as 40 peoples. For the quantitative part of the study, a survey collecting data by using questionnaires that were given to 557 people which are Thai-Laos ethnic group. The sampling was purposive; the procedure was in line with the statistical method used for exploratory factor analysis. The results from the study were as follows: 1) The indigenous medical wisdom for holistic health related to self-reliance on Thai-Laos ethnic groups in Thailand and Lao People’s Democratic Republic, the study found that the indigenous medical wisdom was similarly originated from these people’s predecessors in both countries. Monks and laymen were found as folk healers in various communities. The folk healers took care of both villagers’ mental and physical health when these people were sick. Herbs were found in the community forest while some of these herbs were locally grown. For treatments, these herbs were mixed by the folk healers. For some, herbs were mixed, chewed and blown to the area where bones were suspected of being broken. Folk healers also performed certain ceremonies to ward off bad luck for the local people. This form of health self-reliance served as a holistic integration with physically, mentally and socially involving all social networks found within the community with love, harmony and helping each other was attained. 2) For the case study involving indigenous medical wisdom for the holistic health related to self-reliance on Thai-Laos ethnic groups in Thailand and Lao People’s Democratic Republic, found that these ethnic Thai-Laos groups had a long history of race descendant. These people lived in the large groups and were obedient to their leaders. They were in harmony and also had Buddhism faith with the perseverance. When the sickness appeared, they would mix rubbed locally herbs with water for treating the sick, especially when those sick peoples could not be successfully treated by the doctor. They often went to the provost at a local temple for medical help. They provost would then give herbal medicine to the sick. Often, a rite regarded as catharmos would also be performed by the provost as part of the occasion. Upon taking the medicine, the sick would get better. People were fond of this practice as it was easy for them to have access to and it can mentally treated them due to the community context and culture was well known ; the practice related to administration of this indigenous medical wisdom for the holistic health was thus regarded as self-reliance. Words such as “monks, doctors and teachers” had special meaning that covered the social and cultural context in a relation to the people’s holistic health situation. The continuance of indigenous medical wisdom from the past made it possible for these people to live in peace. 3) The analyze of related elements of indigenous medical wisdom for holistic health that related to self-reliance on Thai-Laos ethnic groups in Thailand and Lao People’s Democratic Republic, found out that, there were four elements found and could be given from highest to lowest levels based on the Eigen value ranking as follows: 1) the 1st element: “Volunteer work and living in harmony for learning about 108 medical substances initiated in the household garden by using Pavara mechanism and participation in the 12-month merit making festivals”; Eigen value was 11.043, 2) the 2nd element: “To production, consumption and presenting of Pana which was considered to be the process of a 3-season developing medicine, which was merged with the Law of Karma and expected to restore the folk or indigenous medicine knowledge”; Eigen value was 8.811, 3) the 3rd element: “Practice of the twelve months annual festival of Isan people resulting in overall community well-being; for individually, the five precepts were to be adhered to while those serving as Sangha administrators were regarded as ‘monks-doctors-teachers’ in this holistic and exemplary public health setting”; Eigen value was 7.742, and 4) the 4th element: “Preservation of the forest and restoration of the ecology associated with bamboo and banana culture. It was designated as the specific food menu and medicine for medical practice aimed at self-reliance”; Eigen value was 7.150.

References

บุญชัย งามวิทย์โรจน์ และคณะ. (2555). รายงานการศึกษาวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำชี. ส่วนวิจัย และพัฒนาทรัพยากรน้ำ สำนักวิจัยพัฒนาและ อุทกวิทยา,

กรมทรัพยากรน้ำ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูปสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2555). รายงานการประชุม ประจำปี 2555 : อะไร คือ เศรษฐกิจ พอเพียง. วันที่ 28 มีนาคม 2555 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิม แพ็ค เมืองทองธานี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). เส้นทางสู่ ความพอเพียง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2555). เศรษฐกิจและนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม : ขาดทุนคือกำไร. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2556). ภูมิปัญญาและชาติพันธุ์วรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Geertz, C. (1973). The interpretation of cultures. New York: Basic Books.

Likert, R. (1961). New pattern of management. New York: McGrew-Hill Book, Co.

Voicu, Mirela-Cristina. (2011). Using the snowball method in marketing research on hidden populations. Challenges of the Knowledge Society, 1(2011), 1341-1351.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

ลิ้มจิตรกร ว. . (2022). การฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อสุขภาพองค์รวมที่สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 2(2), 64–84. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/566