นิเวศวิทยาวัฒนธรรมข้าวในลุ่มน้ำห้วยเสนง

Authors

  • อำนาจ ขำทวีพรหม

Keywords:

Cultural ecology, Rice cultue, Huai Senang Watershed

Abstract

การลดลงของป่าต้นน้ำย่อมส่งผลต่อความหลากหลายทางธรรมชาติและระบบนิเวศ รวมถึงมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิเวศวิทยาวัฒนธรรมข้าวในลุ่มน้ำห้วยเสนงโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ และแนวคิดทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของสจ๊วด การตีความทางวัฒนธรรมของ เกียร์ซ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 ราย ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม โดยเลือกพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ แบบจำเพาะเจาะจงของ โบแอส ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ เดิมมีการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า โดยใช้เพื่อการทำนา การเกษตรเพื่อยังชีพ ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดลงทำให้รูปแบบการทำนาเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมไว้อย่างเหนียวแน่น ด้านความเชื่อก่อนการทำนามีพิธีเซ่นไหว้พระแม่ธรณี การทำบุญในประเพณี 12 เดือนตามความเชื่อทางพุทธศาสนา การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ สะท้อนออกมาอย่างเด่นชัดในองค์ความรู้ของการจัดการทรัพยากรตามความเชื่อ พิธีกรรม คติพื้นบ้าน ด้วยเหตุนี้ความหลากหลายทางนิเวศและทางวัฒนธรรมจึงเชื่อมโยงและพึ่งพาซึ่งกันและกัน จึงกล่าวได้ว่านิเวศวิทยาวัฒนธรรมข้าวกับการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

The reduction of head watershed forests will be affected to the natural and ecosystem diversity including the impact on the changes of the cultural that are related. The purpose is to study the rice cultural ecology in Huai Senang Watershed. This study used qualitative research and applied the theory of cultural ecology of Stewart, and cultural interpretation of Geertz. The data were collected by mixing methods research-ten key performances were interviewed, used triangulation, and participant and non-participant observation. The Huai Senang Watershed in Surin province is specified at area for the study which is based on French Boas. The results of the study were revealed as follows: Initially, the Huai Senang Watershed in Surin province was highly managed at water resources for farming to earn the farmer’s life. Presently, the forest area has been reduced. The pattern of doing farming is changed but it still maintains it’s farming cultural traditions. For example, the ritual to pay respect to the Mother of Earth before the rice farming started; doing merit throughout the 12months tradition according to Buddhist beliefs; and the way of adaptation to the natural environment. These could be reflected prominently in the knowledge of resources management through faith and folk rituals. Because of this, ecological and cultural diversities can be linked and relied on each other. Therefore the researcher, , has been that the rice cultural ecology and upstream conservation are important to maintain the stability of one’s life.

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2556). เรื่องเล่าจากประสบการณ์ผ่าน “ฅ.ต้นน้ำ” เนื่องในวาระการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

น้องนุช สารภี. (2554). คุณค่าของข้าวแปรรูปในบุญประเพณีของวัฒนธรรมไทย-ลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล พิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์ และสำเริง ปานอุทัย. (2554). วิกฤตป่า–วิกฤตน้ำ: ผลงานทางวิชาการที่ผ่านมากับการพัฒนาต้นน้ำที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 4. กรุงเทพฯ: สยามเพรส แมเนจเม้นท์.

ยศ สันตสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. (2557). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2548). ข้อเสนอการพัฒนาประเทศไทยเพื่อความหลากหลายของชุมชนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต. บทความนำเสนอในวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2553). คุณค่าของงานวิจัยแนวชาติพันธุ์วรรณนา. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2556). ภูมิปัญญาและชาติพันธุ์วรรณา. สุรินทร์: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์.

Boas, F. (1940). Race, Language and Culture. New York : Free.

Geertz, C. (1973). The Interpretation of Culture. New York : Basic Books.

Steward, J. (1995). Theory of Culture : The Methodology of Multilinear Evolution. Urban, University of Illinois Press.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

ขำทวีพรหม อ. . (2022). นิเวศวิทยาวัฒนธรรมข้าวในลุ่มน้ำห้วยเสนง. Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 2(2), 124–142. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/569