เทคโนโลยีสัญลักษณ์นกยูงที่สัมพันธ์กับการปกครองในวิถีพุทธของชุมชน
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาและความเชื่อเรื่องนกยูงของพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่สัมพันธ์กับการปกครองในวิถีชุมชนของประเทศไทย โดยศึกษาพื้นที่เทศบาลตำบลศรีวิชัย จังหวัดลำพูน มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ปราชญ์ท้องถิ่น พระสงฆ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ช่างฝีมือ จำนวน 14 คน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อเกี่ยวกับนกยูง เป็นความสัมพันธ์ร่วมระหว่างคนในชุมชน สัญลักษณ์ตัวแทน และพระพุทธศาสนา โดยมีองค์ประกอบร่วมที่สัมพันธ์กับวิถีพุทธของคนในชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ (1) หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาด้านการอยู่ร่วมกันของมนุษย์โดยใช้พื้นฐานของศีลห้าและพรหมวิหาร 4 (2) ภาวะผู้นำต้นแบบ (3) วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการสร้างแรงยึดเหนี่ยวจิตใจผ่านสัญลักษณ์นกยูง และ (4) การอยู่ร่วมกันระหว่างนิเวศวิทยาสัตว์ มนุษย์ ระบบนิเวศ และธรรมชาติ ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสัญลักษณ์นกยูง เป็นกลไกสำคัญของคนในชุมชนที่ศรัทธาต่อสัญลักษณ์ที่ผลิตสร้างออกมาในรูปแบบการประกอบพิธีกรรม และเป็นเครื่องมือในการนำไปใช้ยึดเหนี่ยวให้คนในชุมชนได้มีหลักคิดและวิถีชีวิตร่วมกันตามครรลองของชุมชนภายใต้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา นกยูงกับสัญลักษณ์ทางการปกครองตามแนวคิดของชุมชน เป็นความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาและสัญลักษณ์ผู้นำที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนในชุมชนที่น้อมนำหลักคำสอนมาเป็นต้นแบบของการปกครองของคนในชุมชน
This article has an objective to study wisdom and beliefs on peacocks in Buddhists in relation to the administrative in the community way of life in Thailand. The area of this study was in Sri Vichai Sub-district municipality, Lampun province. The key informants consisted of 14 peoples including local philosophers, Buddhist monks, local cultural experts, community leaders, and craftsmen.The results of this study found out that The beliefs on peacocks are a relationship between people in the community, representative symbol, and Buddhism which has a common element related to Buddhist way of people in the community in 4 aspects. (1) The principle of Buddhism in human coexistence based on the Five Precepts and the Four Sublime States of Mind (2) Leadership role model (3) Temples as the center of community in creating a strong bond of mind through the symbol of peacock and (4) the coexistence between animal ecology, human, ecological and natural. Wisdom and Peacock Symbol Technology are the important mechanism of people in the community who believe in the symbols produced by the ritual and become a tool to hold people in the community to have the same principles and ways of life accordance with the principles of the community under the teachings of Buddhism. Peacocks and the administrative symbol, according to the community concept, are the relationship of Buddhism and the symbol of leader that indicate as the central of mind to the peoples in the community that use the Buddhist teaching to be the role model to administrate people in the community.
References
ชาติ แก้ววงศา. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 9). บ้านแม่ป้อกใน จังหวัดลำพูน.
ธนาดุล แสนทวีสุข. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 6). ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2.
ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2552). 108 สัญลักษณ์จีน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พระครูวิบูลย์ ธรรมพินิจ. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 6). เจ้าอาวาสวัดหลวง (เก่า) หมู่ 5 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.
พระนาท อัตตะสาโร. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 7). พระบาทพระธาตุผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.
พระมหาญาณวงศ์. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 8). วัดหนองกวาง หมู่บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.
พระมหาสุนทร สุนทรธฺมโม (เสนาซุย). (2558). หนังสือนิทานชาดก (มหาโมรชาดก) เรื่อง พญานกยูงทอง. http://www.dhammathai.org/chadoknt/ chadoknt29.php. (7 กรกฎาคม 2558).
พระวินัย อภินันโท. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 7). วัดบ้านปาง ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.
พระสมชาย วชิรญาโณ. (สัมภาษณ์. 2561 : สิงหาคม 7). พระบาทพระธาตุผาหนาม ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
พิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ. (2550). การเข้ารหัสเครื่องหมายสัญลักษณ์บ้านเชียงเพื่อการสื่อสารสาธารณะ. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญสุภา สุขคตะ. (2558). “ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับนัยแห่ง ‘นกยูง’” ใน “สุดสัปดาห์มติชน”. กรุงเทพฯ : มติชน.
มงคล นาฏกระสูตร. (2548). ทฤษฏีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
มอนเทจ คัลเซอร์. (2551). ประตูสู่วัฒนธรรมจีน. แปลโดย วรรณภา เชื้อจีน. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2552). ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิดา แสงสีหนาท. (2549). ภูมิปัญญาบูรณาการบนฐานคิดพุทธปรัชญา : ยุทธศาสตร์ทางเลือกในการพัฒนาสังคมไทย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดิศร อรรถกฤษณ์. (2554). สัญลักษณ์ภาพเกี่ยวกับความดีในจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พระเวสสันดร วัดคูเต้า จังหวัดสงขลา. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
Gordon, Milton, M. (1964). M. Assimilation in American Life. New York : Oxford University. Press.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.