การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Keywords:
online database usage, online databaseAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2) ศึกษาปัญหาในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ และ (3) ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้แหล่งสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย รับทราบเกี่ยวกับการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย สถานที่ใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์คือห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่ใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อเตรียมการสอน/บรรยาย เพื่อการทำวิจัย เหตุผลของ การใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ คือ ค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูลได้ง่าย สะดวก ทุกเวลา/ทุกสถานที่ เรียนรู้การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์จากเอกสารแนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีความถี่ในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่แน่นอน ช่วงเวลาในการสืบค้นฐานข้อมูลอยู่ในช่วงเวลา 13.00 - 18.00 น. มีระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ 30-60 นาที ต้องการรูปแบบผลลัพธ์จากการค้นคืนในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full text) มีความต้องการใช้ฐานข้อมูล ISI web of science มากที่สุด ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ด้านผู้ใช้บริการไม่ทราบวิธีการสืบค้นขั้นสูง/ซับซ้อน ด้านผู้ให้บริการขาดการประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลออนไลน์ ด้านฐานข้อมูลมีจำนวนไม่เพียงพอ ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายไม่มีเครื่องพิมพ์ให้ใช้หรือมีจำนวนไม่เพียงพอ แนวทางการแก้ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ คือ ควรเพิ่มฐานข้อมูลออนไลน์ให้ครอบคลุมการเรียนการสอนทุกหลักสูตรที่เปิดสอน จัดอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสืบค้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ที่สืบค้นให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ จัดทำคู่มือการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์อย่างละเอียด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ประชาสัมพันธ์การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง และควรมีบุคลากรที่ให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์โดยตรงเพื่อคอยบริการแก่ผู้สนใจได้ตลอดเวลา
The purposes of this research are to (1) to study the using and the requirement of online database for the teachers and the officers in Sisaket Rajabhat University (2) to study the problem of the online database and (3) to study the guidance for solving the problems of the online database. A Sample, 186 persons is selected from Teachers and officers of Sisaket Rajabhat University. Questionnaires is a tool in this research and statistical methods for analyzation are percentage, average and standard derivation. Results has shown the most users for online database come from the faculty of education, having educational level in master or doctoral degree and 6 – 10 years in working experience. The using purpose is to prepare lecturing in classroom and the using reasons are: firstly, to search information database because it is convenient, easy to access in every time and every place; secondly, to study the method for searching information from library document; thirdly, to search full paper and finally, to search ISI web for science. The using problems of online database are unknowing with advance search techniques, lacking of publicity, few databases and few supporting technologies for searching database (computers, internet and printers). The guidance for solving the problem of online database usage are: firstly, adding up the number of online databases corresponding and covering with curriculum of the university; secondly, training for online database and efficiency English language usage; thirdly, increasing the number of serving computers; fourthly, preparing documentation manual with Thai and English languages; fifthly, improving efficiency of internet and Lan; sixthly, publicity and finally, adding up consulting officers for taking care of the users.
References
กุลวรีย์ ดิษพรหิรัณยะกุล. (2551). การจัดการฐานข้อมูลออนไลน์ในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กลุ่มงานวิทยบริการและและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2559). รายงานประจำปี 2559. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์. (2549). การใช้ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จารุวรรณ กันหาโนน. (2557). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดวงใจ กาญจนศิลป์ และ ขวัญแก้ว เทพวิชิต. (2553). รายงานวิจัยสถาบันเรื่องความต้องการและการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาบอกรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ดารณี แซ่ตั้ง. (2549). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์สาขามนุษยศาสตร์ของนิสิตบัณฑิตศึกษาสาขามนุษยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพวรรณ ขุนแก้ว. (2554). การใช้บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของบุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธญา ตันติวราภา. (2551). การใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นภา สุยะนนท์. (2554). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
นัดดาวดี ชาญอนงค์สุข. (2548). การศึกษาปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิศากร อุดมผล. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
บงกช จันทรรัตน์. (2553) . การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ของบุคลากรห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มะลิวัลย์ สินน้อย. (2549). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (รายงานการศึกษาอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รสสุคนธ์ ไตรรงค์. (2555). การใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ลำพึง บัวจันอัฐ. (2559). ความคาดหวังของบุคลากรสายวิชาการต่อคุณภาพการบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
วรรณิดา ดวงมณี และ อนันศักดิ์ พวงอก. (2557). การใช้ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถิติการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์. สืบค้น 14 ต.ค. 2560, จาก http://www.uni.net.th/UniNet/reportDB/
statistic_using_rfdb.php.
สุภัททิรา โทนแก้ว. (2557). การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภารักษ์ เมินกระโทก, จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์ และมนิสรา สินปรุ. (2551). รายงานวิจัยสถาบัน เรื่องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
หทัยกานต์ วงศ์สวัสด์. (2553). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Huggard, Hopley S. (2002). Monash library database usage survey. In E-volving Information Futures : Proceedings, 11th Biennial Conference and Exhibition. 21(3), 297-308.
Maquignaz, L. (2000). Evaluation of a full text periodical database. LASIE, 31(4), 66-77.
Pajarillo, E. (2001). The use and evaluation of search databases by professional nurses: A case study. The Electronic Library, 19 (5), 296-306.
Rogers, S. A. (2001). Electronic journals usage at Ohio State University, College and Research Library, 62 (1), 25-34.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.