แนวทางการพัฒนาการให้บริการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Authors

  • รุ่งทิวา เนื้อนา

Keywords:

Development guidelines, participation, student activities

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การสนทนากลุ่มนักศึกษา และบุคลากร เพื่อให้ได้ข้อมูลแล้วนำไปสรุปประเด็นสำคัญ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ โดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับนัยสำคัญ 0.05 และใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ ด้านผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม / โครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 รองลงมา ด้านสภาพปัญหาทั่วไป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และด้านการให้บริการในการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ตามลำดับ ผู้วิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ระดับความสำคัญของความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 15 คน และเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่งานด้านสโมสรนักศึกษาทั้งหมด 5 คณะ และ 1 หน่วยงาน จำนวน 6 คน ประกอบด้วย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และงานพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและร่วมหาแนวทางการพัฒนางาน ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษา พบว่า 1) นักศึกษาบางส่วนไม่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากไม่ชอบแต่เป็นสิ่งที่นักศึกษาหลีกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุเกิดจากไม่เข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ถือว่าไม่ผ่านกิจกรรม จนมีผลกระทบไปสู่การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาบางส่วนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม 2) ควรมีการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลายช่องทาง และมีการประชาสัมพันธ์ถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม 3) ควรมีการสำรวจ ความต้องการของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมแต่ละประเภท และ 4) ควรมีการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงเน้นถึงประโยชน์ใน การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา

The objectives of this research were 1) to study the satisfaction of the participate in student activities Faculty of Humanities and Social Sciences Rajabhat Srisaket University 2) To develop the guidelines for participation in student activities Faculty of Humanities and Social Sciences Sisaket Rajabhat University The researcher used the questionnaire as a tool to collect the data. And use the discussion of student groups and personnel to obtain information and then summarize important issues. And using the data to analyze with statistical program by calculating percentage, mean, standard deviation significant level 0.05 and using a descriptive statistics Most respondents were satisfied at the high level, which was the result of participation in activities / projects with an average value of 4.24, followed by general problems. With an average of 3.98 and the service of participating in each activity With an average of 3.93, respectively. The researcher found that Student satisfaction level Faculty of Humanities and Social Sciences Sisaket Rajabhat University Giving priority to Satisfied with participation in student activities In the overall picture is at a high level. From the interviews with the 15 students and 1 staff, who have participated in the activities of the Faculty of Humanities and Social Sciences Sisaket Rajabhat University, and perform duties in all 5 student clubs and 6 departments, including the Faculty of Humanities and Social Sciences, Faculty of Education, Business Administration and Accounting Faculty of Art and Science, College of Law and Government And Student Development Work Sisaket Rajabhat University to inquire about the problem. And to find the ways to develop the work in participation of student activities. Causes, if not participating in any activities. It is considered that they do not pass the activity until there is an impact on the graduation of some students who do not participate in the activity. And should have a public relations about the purpose of the event. For the students to see the importance of participating in activities 3) should have explored the needs of students in each type of activity. The benefits of participating in student activities

References

รำไพ เมฆาวิบูลย์. (2544). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2525). หลักการกิจการนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกตรศาสตร์.

_______. (2539). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 1: พื้นฐานและบริการนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สมชาย บุญญบาล. (2541). ทัศนะของผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สมบูรณ์ ตะปินา. (2529). การศึกษาทัศนะของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับงานกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู ภาคใต้. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

โสภณ อรุณรัตน์. (2542). สภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการด้านกิจกรรมนักศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุกขะสะหวาด วงหาจัก. (2552). ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยครูปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

เนื้อนา ร. . . (2022). แนวทางการพัฒนาการให้บริการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 3(1), 103–112. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/576