แนวทางการพัฒนาการให้บริการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Authors

  • นงนุช แสงพฤกษ์

Keywords:

Guidelines for the development of services, educational loan funds, satisfaction, education

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของนักศึกษาผู้กู้รายเก่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนางาน ด้านการให้บริการงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของนักศึกษาผู้กู้รายเก่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาผู้กู้รายเก่า ประจำปีการศึกษา 2559 และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติหน้าที่งานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 5 คณะ ดังนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 201 คน และบุคลากรผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การสัมภาษณ์นักศึกษา และบุคลากร เพื่อให้ได้ข้อมูลแล้วนำไปสรุปประเด็นสำคัญ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ โดยคำนวณ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับนัยสำคัญ 0.05 และใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบผลการศึกษา สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 201 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง จำนวน 157 คน คิดเป็นร้อยละ 78.10 เพศชาย จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 21.89 สาขาวิชาที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 21.39 รองลงมาคือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 42.39 อาชีพผู้ปกครองของนักศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุด จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 57.71 รองลงมาคือ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 18.90 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง 5,001-10,000 บาท จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 42.28 รองลงมาคือ 10,001-15,000 บาท จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 รองลงมา ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงานงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ด้านการให้บริการของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่งานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 ด้านระบบสารสนเทศของงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 ตามลำดับ แนวทางการพัฒนางานด้านการให้บริการงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของนักศึกษาผู้กู้รายเก่า สรุปได้ ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประชาสัมพันธ์ ที่หลากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัย เว็บไซต์ของคณะฯ เฟสบุ๊ค บอร์ดประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารงานกองทุน หรือบันทึกข้อความแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และ 2) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรได้รับการฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับงานกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง สามารถให้คำแนะนำ และตอบข้อซักถามได้ถูกต้อง และตรงประเด็น

The objectives of this research are 1) to study the satisfaction of providing loans for education (SLF). The participants were the old borrower students who study at the Faculty of Humanities and Social Sciences Srisaket Rajabhat University 2) To study guidelines for job development For the provision of educational loan fund services. The researcher collected data from students who were the old borrowers in Academic Year 2016 and 5 university staffs who loan the fund for education. The 5 university staffs were from Faculty of Humanities and Social Sciences, Faculty of Education, Faculty of Liberal Arts and Science, Faculty of Business Administration and Accounting, and the College of Law. There were 201 students who participated in answer the questionnaire and 5 persons who provided information. The researcher used the questionnaire as a tool to collect data. An interview also used with students and university staff to obtain information and then summarize important issues. By using the data to analyze with the statistical program by calculating a percentage, mean, standard deviation, The results are significance level 0.05 and using descriptive statistics to study the results can be summarized as follows. First, general information of 201 respondents found that most of them were female, 157 persons, accounting for 78.10%, male 44 persons, accounting for 21.89%. The most questionnaire was given to 43 community development programs, 21.39%, followed by Business English 41 people, accounting for 42.39 percent. In the point of parents' occupation, most of them were the farmers equal to 116 people, accounting for 57.71 percent, followed by a general employee of 38 people, accounting for 18.90 percent. The average monthly income of parents is 5,001-10,000 baht, 85 people, representing 42.28 percent. Followed by 10,001-15,000 baht, 67 people, representing 33.33 percent. Most respondents were satisfied with the high level, namely public relations, information on the loan fund for education (SLF), With an average value of 4.05, followed by the process of working money fund. Educational loan (SLF) Has an average value of 3.74. The service of personnel who perform duties for the Education Loan Fund (SLF) 3.68, the changing of the system of loan funds for education with an average of 3.68, respectively. Guidelines for the development of the provision of educational loan fund services of the former borrower students can be summarized as follows: 1) Responsible staff or related agencies should provide public relations in various channels such as university websites, faculty website, Facebook, Public relations information, fund work information or record a written notice. The responsible officer or related agencies should receive short-term training on educational lending funds in performing duties, thus they can give advice and answer questions correctly.

References

ชัญญา กลิ่นบุบผา. (2557). พฤติกรรมการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัยในวิชาแบบฝึกหัด 751409, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มณี โพธิเสน. (2543). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนโพธิเสนวิทยา อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย.

รายงานค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาริธร ประวัติวงศ์. (2545). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

แสงพฤกษ์ น. . (2022). แนวทางการพัฒนาการให้บริการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 3(1), 113–123. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/577