พระอุโบสถโคเทียมเกวียน วัดบ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ : การศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมและ จิตรกรรมฝาผนังในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
Keywords:
Phra Ubosot Kho Theam Kwean, Wat Ban Sang Ruang, Si Sa KetAbstract
บทความนี้ศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังของ พระอุโบสถโคเทียมเกวียน วัดบ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำความเข้าใจในลักษณะ นิยามการก่อสร้าง ซึ่งจะนำไปสู่การอธิบายพัฒนาการของรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามอิทธิพลของสังคมภายนอก นอกจากนี้ยังอาจทำให้เข้าใจถึงบริบททางสังคมของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณท้องถิ่นเมืองศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับที่ตั้งของวัดแห่งนี้ตั้งแต่อดีตสืบมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า พระอุโบสถโคเทียมเกวียน หรือโบสถ์วัวเทียมเกวียน ที่มีลักษณะเป็นรูปปั้นโค 2 ตัวขนาดใหญ่ สูงประมาณตึก 2 ชั้น กำลังลากเกวียนที่ครอบตัวโบสถ์อยู่ ภายในประดิษฐานพระประธาน ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์โคเทียมเกวียนนั้นก็เป็นเหมือนโบสถ์ตามวัดทั่วไป ต่อมาหลวงปู่ธัมมา พิทักษา ได้เห็นว่าในปัจจุบันนั้นหาดูเกวียนได้ยากแล้ว จึงได้จัดสร้างขึ้นให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เกวียนในสมัยก่อน อีกทั้งคติการประดับรูปเทวดาถือพระขรรค์นั่งแท่น ยังเสมือนเป็นสัญลักษณ์แทนตัวผู้อุปถัมภ์การสร้างในการปกปักรักษาพระพุทธศาสนา ภายในมีภาพเขียนฝาผนังที่สื่อถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน และความเชื่อต่าง ๆ ตามหลักพระพุทธศาสนา รวม 17 ภาพ รวมถึงประติมากรรมสื่อถึงการเติบโตตามช่วงวัยของคน อันแสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างท้องถิ่นที่หลากหลายของอีสานยุคพัฒนาในทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา และมีความสำคัญในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์
This article studied architectural characters and Mural of Phra Ubosot Kho Theam Kwean, Wat Ban Sang Ruang, Mueang District, Si Sa Ket to study the characteristic of structural which leads to explanation of form development that changes due to social influence as well as social context of people who lives in Si Sa Ket, in the same location that the temple locates from the past until now. From the result of the study, Phra Ubosot Kho Theam Kwean or Wua Theam Kwean Cathedral has 2 big cow sculptures that stand around 2nd floors of a building high and pull the cart covering the cathedral. Inside the cathedral locates the Buddha image. The cathedral used to be like other temples until monk Thamma Phithaksa saw that the cart was quite rare so he constructed the sculptures for later generations to recognize its importance in the past. Decoration of god image holding a knife sitting on an altar represents the guardian of Buddhism. Inside the cathedral, there are 17 murals that represent northeastern cultures and beliefs in Buddhism and sculptures showing a process of human growth. These arts show the various talent of northeastern local artists since 1967, and the arts are important as a source for Local History.
References
เจริญ ภัทรพิทักษ์. (2561). วัดพระธาตุเรืองรอง. เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2561สืบค้นจาก http://www.phototechthailand.com/articles/484
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2551). พระพุทธชินราชในประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์. กรุงเทพฯ: มติชน.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2521). การผลิตและการค้าข้าวในภาคกลางตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2411-2475).(วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยพงศ์ สารรัตน์ และคณะ. (2561). การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดบ้านสร้างเรืองอำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารโพธิวิจัย วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม. หน้าที่ 91 – 123.
____. และคณะ. (2562). การจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในจังหวัดศรีสะเกษ. ร้อยเอ็ด: การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 : ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์ตามหลักพุทธศาสตร์ พัฒนาชาติอย่างมั่นคง ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด อำเภอเมืองฯ จังหวัดร้อยเอ็ด วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2562.
____. และคณะ. (2562). ภาพสะท้อนสังคมท้องถิ่น : กรณีศึกษาภาพเขียน ฝาผนังภายในองค์พระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ. สุรินทร์: การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 10”: วิจัยและนวัตกรรม นำสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 19 – 20 กันยายน 2562.
ธันยพงศ์ สารรัตน์ และชำนาญ โสดา. (2561). การสื่อความหมายพระธาตุเรืองรองเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม. นครปฐม: รวมบทคัดย่อการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 8 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561.
พรศิริ วิรุณพันธ์. (2550). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่นต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา วัดพระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ภราดร ศรปัญญา และคณะ. (2557). บทกวีนิพนธ์แผ่นดินศรีสะเกษ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
วงเดือน นาราสัจจ์. (2518). การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่อมหาอำนาจตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2387 – 2394). (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิชัย นาคเขียว. (2562). ““พระธาตุเรืองรอง” : พุทธสถานที่รัฐไทยเผยแพร่อุดมคติชาตินิยมแก่คนท้องถิ่นหลายชาติพันธุ์ในอีสานใต้” เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566. สืบค้นจาก http://issaanrecord.com
วุฒิชัย นาคเขียว และศิริวุฒิ วรรณทอง. (2562). วัดพระธาตุเรืองรองกับการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมในอีสานใต้ พ.ศ.2510 จนถึงปัจจุบัน. สุรินทร์: การประชุมวิชาการระดับชาติมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ วันที่ 22-23 สิงหาคม 2562.
วิภาทิพย์ บุตรศรีมาศ. (2552). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา : วัดพระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). อุบลราชธานี: หลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สันติ เล็กสุขุม. (2545). กระหนกในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
____ . (2548). จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3: ความคิดเปลี่ยนการแสดงออก ก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2557). ประวัติศาสตร์อีสาน 2322 – 2488 เล่มที่ 2. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต และคณะ. (2558). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินอีสาน. ขอนแก่น: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต และดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2541). ประวัติศาสตร์อีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา. (2561). ท่องเที่ยววัดเก่าแก่ของจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์. นครราชสีมา: สำนักงานฯ.
หลวงปู่ธัมมา พิทักษา. วัดบ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ. (วันที่ 13 กันยายน 2562). สัมภาษณ์.
หลวงปู่ธัมมา พิทักษา. วัดบ้านสร้างเรือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ. (วันที่ 24 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
อรทัย อัยยาพงษ์. (2554). การศึกษารูปแบบการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระธาตุเรืองรอง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). อุบลราชธานี: หลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เอเจียน แอมอนิเย. (2535). บันทึกการเดินทางในลาวภาค 1 พ.ศ.2443. แปลโดย ทองสมุทร โดเร; และสมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.