การสร้างสื่อท่องจำคำศัพท์ภาษาจีนคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Keywords:
vocabulary memorization, rhyme vocabulary, Chinese languageAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อสร้างสื่อการท่องจำคำศัพท์คล้องจองภาษาจีนเพื่อพัฒนาการท่องจำภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเรียนการสอนภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน ในรายวิชาภาษาจีนระดับต้น 2 รหัสวิชา 1571108 2) เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน ในรายวิชาภาษาจีนระดับต้น 2 รหัสวิชา 1571108 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการผลิตสื่อคำศัพท์คล้องจองในภาษาจีน โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 39 คน ในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการทำวิจัย 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ แบบสำรวจสภาพการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาจีนต้น 2 แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน การท่องจำคำคล้องจอง และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการท่องจำคำคล้องจอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เรียนภาษาจีนมาแล้ว 6 เดือน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 46.16 ได้สอบผ่านภาษาจีนระดับ 2 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 51.28 ในการวัดระดับความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน หลังจากใช้สื่อการเรียนรู้ กลุ่มประชากรมีระดับคำศัพท์ที่เพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และค่าความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการท่องจำคำศัพท์ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.33 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก นอกจากนี้สื่อการท่องจำคำศัพท์ยังกระตุ้นการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้ ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.42 จากตารางสรุปคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้ตอบแบบทดสอบพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้สื่อการท่องจำคำศัพท์นักศึกษาได้ค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 38.36 หลังจากนักศึกษาได้ใช้สื่อการท่องจำคำศัพท์ได้มีผลสัมฤทธิ์ของคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นได้ค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 47.77 ซึ่งมีระยะห่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 10.51
The research title is “The creation of teaching materials on Chinese rhyme vocabularies to Improve memorization skills for the First Year students, Chinese program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University” The research aimed to 1) study the conditions of Chinese language teaching of the first-year Chinese Program students in Basic Chinese Language 2, course code 1571108, 2) to produce teaching material in Basic Chinese Language 2, course code 1571108 and 3) to study the satisfaction of teaching material production on Chinese rhyme vocabularies. The samples were 39 first-year Chinese Program students in the Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University. The three parts of research tools consisted of the survey form of teaching conditions in Basic Chinese Language 2, pre-test and post-test of rhyme vocabularies memorization and satisfaction evaluation form on using teaching material of rhyme vocabularies memorization. The statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. The research findings found that most of the samples had learned the Chinese language for 6 months amount of 18 students or 46.16%. 20 students passed the Basic Chinese Language 2 or 51.28%. The measurement of pre-test and post-test revealed that the samples had increased vocabulary levels after using teaching material at an average of 3.90. Besides, the average satisfaction of the students on teaching material of rhyme vocabularies memorization was 4.33 at an excellent level. Moreover, teaching material of rhyme vocabularies memorization also stimulated learning and be able to use in learning and daily life with a total average of 4.42. According to the score summary table of pre-test and post-test of the respondents, found that the average learning achievement was 38.36 before using the teaching material of rhyme vocabulary memorization. In contrast, the average of the score was increasing at 47.77 after using the teaching material of rhyme vocabularies memorization with the different average scores between before and after learning at 10.51.
References
คณิศร ตรีผล. (2550). การใช้คำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
น้องนุช บุญชื่น. (2546). สภาพปัญหาและความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนนําร่อง การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมสามัญศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต). สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงษ์ทัศน์ นวลศรี. (2536). การเปรียบเทียบปริมาณความจำระยะสั้นเมื่อเสนอสิ่งเร้าด้วยคำคล้องจองและคำปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมผกา ภีระบัน. (2552). การสร้างสื่อประสมคำคล้องจอง 2 ภาษาประกอบภาพ สำหรับเด็กปฐมวัยชนเผ่าอาข่า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศยามล ฐิตะยารักษ์. (2555). การพัฒนาชุดสื่อประสมเรื่องคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเมืองปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
Shi, L. (2554). การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาจีนสําหรับนักเรียนไทย ที่เรียนภาษาจีนเบื้องต้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. คณะ ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Xiao, Y. (2013). The research of the vocabulary errors when senior Thailand student Learning chinese. Master's Thesis Teaching to Speaker of Other Languages. College of Liberal Arts. Chongqing Normal University.
Zhao, M. (2012). Chinese Vocabulary of Thai College Students based on Memory Strategies. Master's Thesis Teaching to Speaker of Other Languages. College of international education. Shandong University.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.