การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม บทบาทสมมุติ ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Authors

  • วศณ มังชาดา

Keywords:

The Speaking Ability Development, English, Using the Role Play Situation Activities

Abstract

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีความสําคัญ ทุกคนจําเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการติดต่อกับสังคมภายนอกให้เกิดผลในระดับที่ผู้ใช้ต้องการ ปัจจุบัน การสอนภาษาอังกฤษ จําเป็นต้องใช้เทคนิคกระบวนการเรียนให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียน การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยการใช้สถานการณ์จําลอง เป็นแนวทางการจัด การเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจและมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในชีวิตประจําวัน ให้บรรลุผล การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูด ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถานการณ์จําลองและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สถานการณ์จําลอง กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จํานวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จํานวน 8 แผน ใช้เวลาเรียน แผนละ 4 ชั่วโมง รวม 32 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษเป็นแบบอัตนัยจํานวน 4 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.29 และค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้สถานการณ์จําลองมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.23/79.66 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูง กว่าเกณฑ์ 75/75 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้สถานการณ์จําลอง เท่ากับ 0.66 แสดงว่า นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการพูด ภาษาอังกฤษตามจุดประสงค์การเรียนรู้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาไทยร้อยละ 66 นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุป การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้สถานการณ์จําลอง ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น สามารถนําไปใช้ เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ซึ่งเป็น การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่มีคุณค่าต่อผู้เรียน ช่วยเสริมสร้างการกล้าพูดและกล้าแสดงออกในการสื่อสารและการนําไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจําวันได้อีกด้วย

English is the important international language. Everyone needs to learn to be the basic for dealing with societies to the extent that users want. In present, teaching English is necessary to use techniques learning process in accordance with the problems and needs by the learners. Teaching English speaking skill that focus on the English communication by using the role play situations is an interesting approach and focus on the students to achieve in using English in daily life. The purpose of this study is to compare the English speaking skills of the 3rd year students of the business English program, during, before and after study by using the role play situations and to study the effectiveness of the English language learning activity plan by using the role play situations. The sample group of this study is the 28 sudents of the 3rd year students of business English program from the Faculty of Humanities and Social Sciences, selected by purposive Sampling. The researching tool is a learning activity plan consisting of 8 plans, taking 4 hours per lesson, totality 32 hours and the 4 items subjective consisting test of English speaking skills with individual power classified between 0.20 to 0.29 and confidence values. The whole version is 0.805. The statistics used in data analysis are percentage, mean, standard deviation. Statistics for research test hypothesis is using t-test (Dependent Samples). The results of the study are as follows The teaching plan for learning English activities of the 3rd year students of business English program by using the situation. The model is as effective as 78.23 / 79.66, indicating that the learning activities plan is more effective than the 75/75 criteria. The effectiveness index of the English learning activities of the 3rd year students of business English program by using the role play situation is equal to 0.66. It shows that the students have learned and developed the English speaking skills as the learning purposes. So as, 66 percent of them were learning achievement in Thai. The 3rd year students of business English program who were organized the learning activities by using the role play situation have increased the English speaking skill after studying, significantly higher than before studying at the level of .05 In summary, the development of English speaking skills The 3rd year students of business English program by using the role play situations helps the students to improve their English speaking skills. It can be used to develop the English speaking skills in a foreign language learning objective which is a development of English speaking skills are valuable to help the learners strengthen. They are able to speak and express themselves in communication and can be used to solve the problems of using English in daily life.

References

กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กุศยา แสงเดช. (2543). Mini English for Teachers. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

จรีวรรณ วัฒนจีนะพงษ์. (2537). เปรียบเทียบผลของกิจกรรมกลุ่มและสถานการณ์จําลองที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไร่พัฒนา อําเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ชวลิต ชูกําแพง. (2550). การประเมินการเรียนรู้ Learning Assessment. มหาสารคาม: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาญชัย ศรีไสยเพชร. (2527). ทักษะและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

ชัยชาญ วงศ์สามัญ. (2543). การวางแผนการสอน. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. (2544). เทคนิคการนําเสนองานอย่างมืออาชีพ – Presentation Techniques. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ดนตรี แสงกล้า. (2544). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กลวิธีการทําให้สําเร็จประกอบสถานการณ์จําลอง. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คลนภา มิลาลา. (2548). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์จําลอง.(รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีศักดิ์ ไชยมาโย. (2537) คู่มือปฏิบัติการจัดทําแผนการสอน นครพนม: สวัณพา.

ทิศนา แขมมณี. (2522). กลุ่มสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

____ . (2522). ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ในการสอน กลุ่มสัมพันธ์: ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บูรพาศิลป์การพิมพ์.

Chambers, J. G. (1980 ).The Development of a Cost of Education Index: Some Empirical Estimates and Policy Issues. Journal of Education Finance. 5(3): 262.

Holden, S. (1981). Drama in Language Teaching. New York: Longman.

Geller, D. M. (1978). Involvement in Role Playing Simulation; A Demonstration With Studies on Obedience. Journal of Personality and Social Psychology. 5(16): 219-235: November.

Schwitzer, A. M. and other. (2001). Preparing Students for Professional Roles by Simulating Work Setting in Counselor Education courses. Counselor Education and Supervision. 40(4): 308 ; June.

Downloads

Published

27-11-2022

How to Cite

มังชาดา . ว. . (2022). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม บทบาทสมมุติ ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ . Journal of Human and Society, Sisaket Rajabhat University, 3(2), 59–72. Retrieved from https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/582