การวิเคราะห์องค์ประกอบการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ ในภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 และ 2) กำหนดตัวชี้วัดการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 สำหรับธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์รับขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก Q Mark ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ได้
รับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งที่มีอยู่ในประเทศไทย จำนวน 324 คน ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤตโรคระบาด สามารถแบ่งองค์ประกอบได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร มีตัวชี้วัด 3 ตัว (2) ด้านการจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า มีตัวชี้วัด 3 ตัว (3) ด้านการจัดการรถขนส่งสินค้า มีตัวชี้วัด 3 ตัว (4) ด้านการจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า มีตัวชี้วัด 2 ตัว และ (5) ด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤตความปลอดภัยด้านสุขภาพ มีตัวชี้วัด 2 ตัว ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤตโรคระบาด สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าและองค์กรอื่นๆ เพื่อความเชื่อมั่น และไว้วางใจจากลูกค้า และช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับสุขภาพของพนักงานภายในองค์กรในภาวะวิกฤตโรคระบาด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมการขนส่งทางบก. (2563). กรมการขนส่งทางบก รับพิจารณามาตรการช่วยเหลือ เพื่อสู้สถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2566. [28 พฤษภาคม 2563].
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-05-20-tha-sitrep-83-covid-19-th-final.pdf?sfvrsn=80b25b6f_0. [20 พฤษภาคม 2563].
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4563 (พ.ศ. 2556) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ – ข้อกำหนด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/123/10.PDF. [20 พฤษภาคม 2563].
กองบรรณาธิการ TCIJ. (2564). ผลสำรวจพบคนไทยมีอัตราช๊อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลกช่วง COVID-19.
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.tcijthai.com/news/2021/19/scoop/11763. [4 มิถุนายน2565].
เกศกนก เชื้อมหาวัน. (2560). การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ไทยประเภทผู้รับจัดการขนส่ง
สินค้าระหว่างประเทศ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Geskanok.Chu.p
มิถุนายน 2563].
ชยพล ผู้พัฒน์. (2563). รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจ
โลจิสติกส์ในภาวะวิกฤตโรคระบาด. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา. (2563). ธุรกิจ Logistics & Supply Chain ปรับตัวอย่างไร เมื่อ COVID-19 มาพร้อม
กับวิกฤต และโอกาส. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://techsauce.co/exec-insight/jwd-logistic-
new-normal-bcp-fight-covid-19. [23 พฤษภาคม 2563].
ภูวณ อัษวกรนิฤางกูร. (2562). การปรับตัวของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัล. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/download/231791/158071/781936.
มิถุนายน 2563].
Berkoune, D. et al. (June 2011). "Transportation in disaster response operations." Socio-economic Planning Sciences. [On-line]. 46(1) : 23-32. Available : https://www.researchgate.net/publication/ 251496273_Transportation_in_disaster_response_operations [1 June 2020].
Danilo R. Diedrichs. (2016). Quantifying communication effects in disaster response logistics: A multiple network system dynamics model. [On-line]. Available : https://www.emerald.com/
insight/content/doi/10.1108/JHLSCM-09-2014-0031/full/html?fbclid=IwAR0Byjd2RpmCw3CUdCEE-MG7_3eHTPcshpIGz1c3XxyGrk5RDwQpyfMIjTY. [2 JUNE 2020].
Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., and Tatham, R. (2010). Multivariate Data Analysis.
thed. Upper Saddle River,NJ : Pearson Education.
Hamedi, M., Haghani, A., and Yang, S. (2012). Reliable Transportation of Humanitarian Supplies
in Disaster Response: Model and Heuristic. Procedia. [On-line]. Available : https://
www.researchgate.net/publication/271561060_Reliable_Transportation_of_Humanitarian_
Supplies_in_Disaster_Response_Model_and_Heuristic. [1 June 2020].
Mark W. Horner. (2011). The effects of transportation network failure on people’s accessibility to hurricane disaster relief goods: a modeling approach and application to a Florida case study. [On-line]. Available : https://scholar.google.com/citations?user=WaiqcVcAAAAJ&hl=en.
June 2020].
Nezih Altay. (2009). Strategic planning for disaster relief logistics: lessons from supply chain
management. [On-line]. Available : https://www.researchgate.net/profile/Nezih-Altay/
publication/238341613_Strategic_planning_for_disaster_relief_logistics_Lessons_from_supply_
chain_management/links/59ea38eda6fdccef8b08d068/Strategic-planning-for-disaster-relief-
logistics-Lessons-from-supply-chain-management.pdf. [31 MAY 2020].
Thotongkam, W., and Vachajitpan, P. (2018b). Factor analysis of hotel involvement in community
development. In The 10th National Conference on Administration and Management.
(pp. 845-853). Faculty of Management Prince of Songkla University Thailand.