การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สบู่ล้างหน้าสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วิจิตรา กาญจนวัฒนา
สุธาสินี โพธิ์ชาธาร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ล้างหน้าสมุนไพร 2) เพื่อศึกษาปัจจัย
ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ล้างหน้าสมุนไพร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ล้างหน้าสมุนไพรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง
คือ ผู้บริโภคที่ใช้สบู่ล้างหน้าสมุนไพรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทำการทดสอบ
ความแตกต่าง t-Test และ F-Test และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ Scheffe Analysis ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ล้างหน้าสมุนไพร ส่วนใหญ่เลือกใช้สบู่สมุนไพรยี่ห้อ Serina silk protein soap สบู่โปรตีนไหมโดยมีเหตุผลทำให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้งตึง ซึ่งแฟนหรือคู่รัก เป็นผู้มีอิทธิผลในการตัดสินใจซื้อโดยจะซื้อเมื่อสบู่สมุนไพรใช้หมดแล้ว โดยส่วนใหญ่จะซื้อจากตัวแทนจำหน่าย และซื้อ 1 เดือนต่อครั้ง และซื้อครั้งละ ต่ำกว่า 50 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ล้างหน้าสมุนไพร
ของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมพบว่า ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ให้ความสำคัญสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ
ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และพบว่า เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกัน มีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่ล้างหน้าสมุนไพร แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
กาญจนวัฒนา ว., & โพธิ์ชาธาร ส. (2022). การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ สบู่ล้างหน้าสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1), 67–82. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/194
บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2563). ความนิยมพืชสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564

จาก www.dtn.go.th/th/news/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows การวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.

จารุณี บัวเผื่อน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

นภาวรรณ คณานุรักษ์. (2559). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: ซีวีแอลการพิมพ์.

เนตรนพิศ ประทุม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของเพศที่สาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เบญจภรณ์ ผดุงรส. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้าในพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัทมพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสําอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาณุพัฒน์ โพธิ์ทอง และพอดี สุขพันธ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรปัญจศรีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มติชนออนไลน์. (2564). ตลาดสบู่คึกคัก รับอานิสงส์โควิด เพียง 2 เดือนทั่วโลกนำเข้าจากไทยพุ่ง 19%.

สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2157760

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). การวิเคราะห์และทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์ทรีม มีเดีย

ศรีประภา ชัยสินธพ. (2561). สภาพจิตใจของวัยผู้ใหญ่. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564 จากhttp://www.ra.mahidol.ac.th/ mental.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2556). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุรวศี วัฒนวรางกูร. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าซัลวาซูของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Kotler, Philip and Keller Kelvin Lane. (2016). Marketing Management. (15th global edition) Edinburgh: Pearson Education. (679 pp).

Schiffman, L. G. & Wisenblit, J. L. (2015). Consumer Behavior. 11th ed. England: Pearson Education Limited.