พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมทางการเมือง, การออกเสียง, การลงคะแนนเลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นพฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนและเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหา อุปสรรค คือ ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงสิทธิหน้าที่ในการเลือกตั้ง ข่าวทางการเมืองทำให้เกิดความเครียด คนส่วนใหญ่จะไม่เข้าสมาชิกกลุ่มพรรคการเมือง ดังนั้น ควรให้ความรู้แก่ประชาชนถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และการติดตามข่าวก่อนตัดสินใจหรือเผยแพร่ออกไปต่อ ๆ กัน
References
จิรพันธุ์ วิสูตรศักดิ์. (2547). การดำเนินงานตามบทบาทขององค์การบริการส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาในการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชไมพร เหล่าพงศ์เจริญ. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครู: ศึกษากรณีโรงเรียน กันทรลักษณ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญญฤทธิ์ โชคอุดมพร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของประชาชนเขตเทศบาลเมืองตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
สยามรัฐออนไลน์. (2561). ปัญหาการเมืองไทย. “ระบบ” หรือ “คน”. สืบค้น 21 กันยายน 2562, จาก https://siamrath.co.th/n/29958
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สิทธิชัย อินทร์บุญ. (2555). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอมวดี กาฬภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี: ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(1), 117-122.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.