การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนใน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, วัฒนธรรมทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ปัญหาและอุปสรรค คือ ยังมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนทางการเมืองประชาชนยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ประชาชนสนใจและเข้าใจการเมืองในลักษณะการยอมรับในอำนาจ ประชาชนยังคงมีความเชื่อว่าอำนาจการตัดสินใจเด็ดขาด เป็นอำนาจของรัฐบาลไม่ใช่ประชาชน
References
ธนาภรณ์ โง้วเจริญ และวัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2560). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 133-147.
วุฒิศักดิ์ บุตนุ. (2550). วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวบ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณีชาวบ้านหมู่บ้านหวายหลึม (หมู่ที่ 3, 6, 9 และ 10) ตำบลมะบ้า กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรายุทธ นกใหญ่. (2558). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิสมาแอล เบญอิบรอฮีม และธนาสฤษฎิ์ สตะเวทิน. (2561). วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับการพัฒนาความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.