การเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชนในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ รุ่งวงษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมบัติ นามบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กรกต ชาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรม, การลดความเหลื่อมล้ำ, เศรษฐกิจของชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชน 2. เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชน 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชนในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ผลการศึกษาพบว่า 1. การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.17) รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ สนับสนุนการบริหารจัดการทางการเงิน สนับสนุนชุมชนในการจัดสวัสดิการ และเครือข่ายการจัดการทรัพยากรในชุมชน
2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า นโยบายภาครัฐ บริบทชุมชน และพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ในภาพรวมมีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3. การเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ลำดับแรกขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเองเป็นหลัก นอกจากนั้นนโยบายภาครัฐเองต้องกำหนดมาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชนด้วย และบริบทชุมชนเองก็ต้องพร้อมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย

References

ตรัยยาลักษณ์ เรืองราย และนัทนิชา หาสุนทรี. (2563). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 8(1), 109-123.

ธัชชนันท์ อิศรเดช และวสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล. (2563). ชุมชนกับการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษาชาวตำบลหนองสาหร่าย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 375-388.

นลิตรา ไทยประเสริฐ. (2554). การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ พศ.2561-2580. (2561, 13ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-74.

พระเขมทัต สีลสาโร (รื่นสำราญ). (2560). การวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างยั่งยืน (หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมชัย จิตสุชน. (2558). ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย : แนวโน้ม นโยบาย และแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI.

สัณหกฤษณ์ บุญช่วย. (2563). การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างยั่งยืน : ว่าด้วยการประกอบสร้างนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 13(4), 141-169.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดขอนแก่น. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์, จาก : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/56.htm.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-01

How to Cite

รุ่งวงษ์ ณ., นามบุรี ส. ., & ชาบัณฑิต ก. (2023). การเสริมสร้างเครือข่ายความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชนในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 5(3), 1–15. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/2044