ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจศึกษาต่อ, มหาวิทยาลัยเอกชนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการทางตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการทางตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 400 ตัวอย่าง
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) สภาพการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการเสาะแสวงหาข้อมูล และด้านการประเมินทางเลือก คณะ/สาขา รองลงมา ได้แก่ มีด้านการตระหนักถึงความต้องการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากที่สุดได้แก่ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (X7) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์(X1) ด้านสถานที่ (X3) ด้านบุคลากร (X5) และด้านการส่งเสริมการตลาด (X4) ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพร่วมกันในการทำนายปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนได้ ร้อยละ 64.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรณิศ วงศ์วานิช และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(1), 13-25.
ฉัตรชัย อินทสังข์ และคณะ. (2552). ความต้องการศึกษาต่อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษา จังหวัดนครราชสีมา (รายงานวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธนพัฒน์ อินทวี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถาบันศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 1-14.
บุษกร วัฒนบุตร. (2562). ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์โดยภาคเอกชนเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4),191-200.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล และคณะ. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด Principles of Marketing (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุบลราชธานี: หจก.อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cubillo, J. M., Sanchez, J., & Cervino, J. (2006). International student’s decision-making process. International Journal of Educational Management, 20(2), 101-115.
Maceachern, M.J. & Yun, D. (2017). Exploring factors influencing international students’ decision to choose a higher education institution: a comparison between Chinese and other students. International Journal of Educational Management, 31(3), 1-20.
Sabir, R. I., Ahmad, W., Ashraf, R. U., & Ahmad, N. (2013). Factors affecting university and course choice: A comparison of undergraduate engineering and business students in Central Punjab, Pakistan. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 3(10), 298-305.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.