การสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกลผ่านเฟสบุ๊กในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566
คำสำคัญ:
การสื่อสารทางการเมือง, พรรคก้าวไกล, เฟสบุ๊ก, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
การสื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างมาก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 พรรคก้าวไกลมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ใช้การสื่อสารทางการเมืองเพื่อรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกลผ่านเฟสบุ๊กในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 3 เมษายน ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พบว่ามีการโพสต์ข้อความด้วยภาษาง่าย ๆ ร่วมกับการโพสต์ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ และการถ่ายทอดสด จากนั้นทำการวิเคราะห์เนื้อหาตามแบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ แบ่งประเภทของข้อความที่โพสต์ได้ 6 ประเภท ดังนี้ 1. นโยบาย จำนวน 54 ครั้ง 2. อุดมการณ์ทางการเมือง จำนวน 62 ครั้ง 3. แกนนำพรรคและผู้สมัคร จำนวน 124 ครั้ง 4. ความผิดปกติในการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า จำนวน 49 ครั้ง 5. ผลงานของพรรค จำนวน 17 ครั้ง และ 6. เรื่องอื่น ๆ จำนวน 59 ครั้ง เมื่อวิเคราะห์ข้อความข้างต้นพบว่าพรรคใช้การสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารตามแบบจำลองการสื่อสารของแชรมม์ ได้แก่ กลุ่มข้อความเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง กระตุ้นความเบื่อหน่ายของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลก่อนหน้า ด้วยประโยคเชิงสัญลักษณ์ว่า “มีลุงไม่มีเรา มีเราไม่มีลุง” และปัญหาการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนที่ใช้หรือติดตามเฟสบุ๊กของพรรคก้าวไกลสนับสนุนพรรคในการเลือกตั้งครั้งนี้
References
ธัญญา ใยทอง. (2548). การสื่อสารทางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิด้าโพล. (2566). เลือกนายกรัฐมนตรี. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก https:// nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=641
ปฐมาพร เนตินันท์. (2552). กระบวนการสื่อสารตราสินค้าของพรรคการเมืองไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรคก้าวไกล - Move Forward Party. (2566). รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง. สืบค้น 17 ตุลาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/MoveForwardParty
Thailand
รัตติพร ณ นคร. (2564). ความคาดหวังโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สู่รูปแบบสถานีดิจิทัล RMUTK มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566, จาก https://ectreport66.ect.go.th/ overview
อินซิงค์อีร่า. (2566). สรุปข้อมูลที่ควรรู้ DIGITAL 2023 THAILAND จาก We Are Social และ Meltwater. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566, จาก https://www. insightera.co.th/digital-2023-thailand/
Lasswell, H.D. (1960). Mass Communication. Urbana, Illinois: University of Illinois.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.