พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพื่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์สุวรรณ วิริโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อปริหานิยธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพื่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพื่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีสิ่งที่ประชาชนให้ความสำคัญคือการเคารพในกฎหมายและสิทธิหน้าที่พลเมืองของประชาชนการใช้สิทธิและอำนาจหน้าที่ตามบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญการรับฟังความคิดเห็นหรือมติของประชาชน
2. การสื่อสารทางการเมืองสามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพื่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพื่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีโดยการประยุกต์หลักพุทธธรรมคือความสามัคคีการมีความรับผิดชอบร่วมกันการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับการเคารพผู้อาวุโส ผู้ที่ควรเคารพการให้สิทธิเสรีภาพความเสมอภาคความเท่าเทียมการเคารพประชาชนชุมชนองค์กรทางการเมืองและการสนับสนุนคนดีมีคุณธรรม

References

ชุมพล เพ็งศิริ. (2563). การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง. (2557). ความสัมพันธ์ของการสื่อสารที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 46-58.

นิติพันธ์ อินทโชติ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไทยในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2560). การเมืองท้องถิ่นของใครโดยใครเพื่อใคร. กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซน์.

พระนิคม จนฺทธมฺโม. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการเมืองการปกครองตามแนวธรรมาธิปไตยในเขตเทศบาลนครระยองจังหวัดระยอง. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 70-79.

พัททดล เสวตวรรณ. (2564). การพัฒนาทางการเมืองที่มีผลต่อการบริหารงานขององค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชราภรณ์ จุ้ยลำเพ็ญ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วัฒนา เซ่งไพเราะ. (2555). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยช่วงปีพ.ศ. 2549-2554 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ประกาศผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. ชลบุรี: คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี.

อนุรักษ์ นิยมเวช. (2554). การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2556). กำนันเป๊าะไม่ได้เป็นเจ้าพ่อภาคตะวันออก. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 5(3), 369 - 383.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

วิริโย พ., บุญเรือง ส., & โซวเกษม อ. (2024). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพื่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 6(3), 30–44. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/2896