รายงานดัชนีการรับรู้การทุจริต พ.ศ. 2567 กับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทย

ผู้แต่ง

  • อรุณัฐ ปุณยกนก สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

คำสำคัญ:

ปัญหาคอร์รัปชัน, ดัชนีการรับรู้การทุจริต, หลักศาสนา, รัฐบาลดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์นำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต ที่ประเมินโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ซึ่งผลจากการประเมินล่าสุดของปี 2567 ประเทศไทยได้ 34 คะแนน เป็นคะแนนประเมินที่ต่ำที่สุดในรอบสิบกว่าปี คะแนนของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีการเพิ่มอำนาจให้กับองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ภาคประชาชนก็มีการรวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นองค์กรต่าง ๆ ทำการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน มีการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติ มีการทำแผนปรับปรุงระบบราชการให้ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และเปิดเผย ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล แต่ผลการประเมินก็ไม่ดีขึ้น ผู้เขียนได้แยกแยะให้เห็นว่าในการปรับปรุงค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต ได้มีการดำเนินมาตรการในสามแนวทางใหญ่ ๆ คือ แนวทางที่ 1 การใช้กฎหมายบังคับโดยภาครัฐ มีการตั้งองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานเพิ่มขึ้นในการตรวจสอบและลงโทษการทุจริต แนวทางที่ 2 ในภาคเอกชนมีการตั้งภาคีเครือข่ายเพื่อตรวจสอบและรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ข่าวสารการทุจริตที่ประชาชนพบเห็น มีการนำหลักศาสนาต่าง ๆ มาโน้มน้าวให้ผู้บริหารราชการระดับสูง ข้าราชการและประชาชนมีความซื่อสัตย์สุจริต และแนวทางที่ 3 เป็นการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีสนับสนุนและปรับปรุงการทำงานของภาคราชการตามนโยบายการเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ระบบราชการมีความรวดเร็ว โปร่งใส เปิดเผยและตรวจสอบได้ โดยหวังว่ามาตรการสามแนวทางใหญ่ ๆ นี้หวังว่าจะช่วยปรับปรุงดัชนี CPI ของประเทศไทยให้ดีขึ้นได้

References

ชิดตะวัน ชนะกุล. (2566). ประชาธิปไตยและการคอร์รัปชัน: กรณีศึกษาประเทศกลุ่มอาเซียน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3), 243-261.

ณัฐพัชกานต์ แก้วพลอย. (2562). หลักธรรมคำสอนพื้นฐานอิสลามกับการเรียนรู้เพื่อประกอบอาชีพการเลี้ยงปูดำขุนบริเวณป่าชายเลน อำเภอละงู จังหวัดสตูล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(2), 236 -244.

ติรัส ตฤณเตชะ. (2566). วัฒนธรรมความไว้เนื้อเชื่อใจในสังคมเดนมาร์ก : หนทางสู่ความสำเร็จในการปลุกและปลูกจิตสำนึกต้านทุจริต. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 16(2), 85–102.

ธนพล เอกพจน์, วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา, ปานปั้น ปลั่งเจริญศรี. (2566). การคอร์รัปชัน คือ โรคร้าย : อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาไทยในห้องสนทนาเกี่ยวกับการเมือง. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 67-92.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570. (2566, 10 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 84. หน้า 1.

ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน. (2564, 20 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 109ง. หน้า 8-9.

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 1-10.

พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส). (2566). ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), A114-A122.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรกฎาคม 2549. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2557). พุทธบูรณาการ เพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคม. สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ 1: Commemorative Book : MCU Congress I. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชฐ ทั่งโต. (2559). พุทธธรรมกับการป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(4), 1-15.

พิพิธภัณฑ์ต้านโกง. (2568). ดัชนีการรับรู้การทุจริต. สืบค้น 12 มกราคม 2568, จาก https://acm.nacc.go.th/press-release/cpi1.

พิษณุ หอมสมบัติ, พระปลัดภัครวัฒน์ สีลเตโช และสอาด ภูนาสรณ์. (2564). ฆราวาสธรรม 4 ประเภท: การป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(2), 159-169.

พุทธทาสภิกขุ (เงื่อม อินฺทปญฺโญฃ). (2534). คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน. (2560). พัฒนาการอธิบายความหมายของศีล 5. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 4(2), 1-15.

สมบัติ กองกะมุด. (2559). เบญจศีลในปรัชญาพุทธศาสนากับบัญญัติ 10 ประการ ในปรัชญาคริสตศาสนา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วารสารพุทธมัคค์, 1(2), 25-32.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ : ป.ป.ท.(2567). ดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (2024). สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.pacc.go.th/page1(2017).html.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ : ป.ป.ช. (2567). รายงานประจำปี 2567. สืบค้น 25 ธันวาคม 2567, จาก https://rb.gy/jijm26.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ: ป.ป.ช. (2568). ป.ป.ช. เผยผลวิเคราะห์ CPI 2567. สืบค้น 6 มีนาคม 2568, จาก https://shorturl.at/c8N82

อรุณัฐ ปุณยกนก. (2567). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย: การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อความสำเร็จ. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 2(4), 42-49.

ไอริน โรจน์รักษ์. (2564). จาก Estonia สู่ E-Estonia: ถอดบทเรียน 30 ปีธรรมาภิบาลกับการปฏิรูปภาครัฐ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 9(1), (161-174).

Transparency International. (2024). Home/About. สืบค้น 26 ธันวาคม 2567, จากhttps://www.transparency.org/en/about.

______. (2025). Corruption Perceptions Index 2024. สืบค้น 6 มีนาคม 2568, จาก https://www.transparency.org/en/cpi/2024/index/sgp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-25

How to Cite

ปุณยกนก อ. (2025). รายงานดัชนีการรับรู้การทุจริต พ.ศ. 2567 กับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทย. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 7(2), 63–76. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4482