จริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ ในการตัดสินใจด้านทรัพยากรมนุษย์
คำสำคัญ:
ปัญญาประดิษฐ์, ทรัพยากรมนุษย์, จริยธรรม, ความโปร่งใสบทคัดย่อ
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในกระบวนการสรรหา การคัดเลือก การประเมินผล และการพัฒนาพนักงาน ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และความแม่นยำในการทำนายแนวโน้มต่าง ๆ การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานทรัพยากรมนุษย์ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านจริยธรรมหลายประการ ซึ่งรวมถึงปัญหาความลำเอียงของขั้นตอนวิธี (อัลกอริทึม) ความโปร่งใสในการตัดสินใจ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความรับผิดชอบขององค์กรในการใช้เทคโนโลยีนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นทางจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานทรัพยากรมนุษย์ และนำเสนอแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อลดความเสี่ยงด้านจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้น บทความนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมในทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้หลักจริยธรรมหลัก 4 ประการ ได้แก่ ความโปร่งใส ความสามารถในการอธิบายและตีความได้ ความเป็นธรรม และความสามารถในการตรวจสอบได้ พร้อมนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น บทความยังเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในการออกแบบและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ให้สามารถตัดสินใจอย่างเป็นธรรมและมีความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทั้ง 4 ประการนี้จะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างองค์กรและพนักงาน พัฒนาประสิทธิภาพการตัดสินใจด้านทรัพยากรมนุษย์ และช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
References
บุญทัน ดอกไธสง. (2567). การปฎิวัติปัญญาประดิษฐ์ ในรัฐประศาสนศาสตร์ขั้นสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชลธิชา ทักษิณาเวศน์. (2568). สังคมเหลื่อมล้ำทางเพศฉันใด เอไอก็มีอคติทางเพศฉันนั้น. สืบค้น 31 มกราคม 2568, จาก https://www.the101.world/bias-in-artificial-intelligence/
IEEE Global Initiative on Ethics of Autonomous and Intelligent Systems. (2022). Ethically Aligned Design: A Vision for Prioritizing Human Well-being with Autonomous and Intelligent Systems. Retrieved January 31, 2025, from https://standards.ieee.org/industryconnections/ec/autonomous systems/
Cormen, T.H. et al., (2022). Introduction to Algorithms (4th ed.). Cambridge, Massachusetts: MIT Press.
Deloitte. (2023). Global Human Capital Trends 2023. Retrieved January 31, 2025, from https://www2.deloitte.com/global/en/pages/human-capital/articles/human-capital-trends.html
IBM. (2023). Watson Recruitment: Transform your talent acquisition strategy. Retrieved January 31, 2025, from https://www.ibm.com/products/watson-recruitment
IEEE Global Global Initiative on Ethics of Autonomous and Intelligent Systems.
IEEE. (2023). IEEE 7000-2023 - IEEE Standard Model Process for Addressing Ethical Concerns during System Design. Retrieved January 31, 2025, from https://standards.ieee.org/ieee/7000/7027/
Jeffrey, D. (2561). Insight - Amazon scraps secret AI recruiting tool that showed bias against women. Retrieved January 31, 2025, from https://www.reuters.com/article/world/insight-amazon-scraps-secret-ai-recruiting-tool-that-showed-bias-against-women-idUSKCN1MK0AG/
Johnson, R.D. & Phillips, G. (2023). AI-driven recruitment: Promises and pitfalls.
Russell, S., & Norvig, P. (2021). Artificial Intelligence: A Modern Approach (4th ed.). Hoboken: Pearson.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.