ความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-INSPECTION) ของบุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น, ระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์, สื่อสารสนเทศที่ใช้, เมนูการใช้งาน, ความรู้ความเข้าใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการใช้ระบบติดตาม ผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้ระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสารสนเทศที่ใช้กับระดับความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเมนูการใช้งานกับระดับความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) และ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจกับความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) ของบุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ บุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนภูมิภาค จำนวน 305 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test, One-Way Anova, Lsd, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, Chai-Square และ Cramer’v โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Inspection) ของบุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44 และ S.D. = .52) การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอายุงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Inspection) ไม่แตกต่างกัน สื่อสารสนเทศที่ใช้มีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ เมนูการใช้งานมีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ และความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ
References
จิตตินันทน์ ตั้งประเสริฐ. (2555). การสำรวจความคิดเห็นของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ ที่มีต่อระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดลพรรณ จันทร์ประเสริฐ. (2562). ความคิดเห็นต่อระบบจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) ของนักวิเคราะห์งบประมาณ สำนักงบประมาณ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นวิยา อินทร์มี และภิรดา ชัยรัตน์. (2567). ความคิดเห็นในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรกรมประชาสัมพันธ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(4), 153-162.
สืบพงษ์ กอเสถียรวงศ์. (2551). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับหน่วยปฏิบัติการส่วนราชการระดับกรม ที่มีต่อระบบ e-Budgeting ในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ภาครัฐไทยกับการกาวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก http://library2.parliament.go.th/ejournal/ content_af/2559/mar2559-7.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
สำนักตรวจราชการกรมที่ดิน. (2558). การตรวจราชการและการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สู่ผลสัมฤทธิ์. สืบคืน 7 มีนาคม 2568, https://www.dol.go.th/km2/Documents/book%20km%202558/ตรวจราชการ.pdf
Satzinger, J.W. et al. (2012). Systems analysis and design in a changing world (6th ed.). Boston: Joe Sabatino.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.