การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมือง ของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การประยุกต์หลักพุทธธรรม, ความไว้วางใจทางการเมือง, พรรคการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย และ 3. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเลย จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.84, S.D.=0.72) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย พบว่า ปัจจัยการกล่อมเกลาทางเมืองและการประยุกต์หลักพุทธธรรมมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับพรรคการเมืองตามหลักอปริหานิยธรรม มีการจัดประชุมสม่ำเสมอ มีระบบประชุมที่เป็นระเบียบ ยึดมั่นในกฎหมาย เคารพผู้อาวุโสและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสิทธิสตรี ทำงานร่วมกับองค์กรอื่น และสนับสนุนคนดีเข้าสู่การเมือง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในการติดตามมติที่ประชุม การมีส่วนร่วมของประชาชน และการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม
References
ขวัญฤดี มีนันท์. (2564). รูปแบบการศึกษาของไทยกับการส่งเสริมทางการเมืองเพื่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์ร่วมสมัย, 2(2), 36-49.
เขตโสภณ มะพันธุ์. (2567, 22 ธันวาคม). นักการเมืองท้องถิ่น [บทสัมภาษณ์].
จำนง วงศ์คง. (2567, 3 ธันวาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์เลย [บทสัมภาษณ์].
ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์. (2551). นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ดำรง สอนอ้น. (2567, 29 พฤศจิกายน). ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาสนาจังหวัดเลย [บทสัมภาษณ์].
ธงชัย สิงอุดม. (2567, 2 ธันวาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์เลย [บทสัมภาษณ์].
ธนพัฒน์ เฉลิมรัตน์. (2567, 22 ธันวาคม). นักการเมืองท้องถิ่น [บทสัมภาษณ์].
ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. (2564). หลากมิติหลายมุมมอง การกำหนดนโยบายพรรคการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ธีระวัฒน์ พิมพ์พิชญ์วิวัฒน์. (2567, 22 ธันวาคม). นักการเมืองท้องถิ่น [บทสัมภาษณ์].
แก้วกล้า ทาสาลี. (2567, 9 ธันวาคม). สมาชิกพรรคการเมือง [บทสัมภาษณ์].
นิติพันธ์ อินทโชติ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไทยในจังหวัดชัยภูมิ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นุสนธ์ รักษาพล. (2567, 29 พฤศจิกายน). นักวิชาการศาสนา [บทสัมภาษณ์].
พระครูปลัดไพฑูรย์ (มหาบุญ) เมธิโก. (2558). อปริหานิยธรรม : สันติภาพสู่สังคมไทย.วารสารกระแสวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสยาม, 16(29), 78-88.
พระครูรัตนสุตากร (ปราโมทย์ ล่องแก้ว) และคณะ. (2563). การพัฒนาการเมืองตามหลักพุทธธรรม. วารสารมหจุฬานครทรรศน์, 7(10), 32-43.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). (2562). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้นำตามแนวพุทธ. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 2(1), 28-37.
พฤทธิสาน ชุมพล. (2530). ระบบการเมืองความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์.
พิพัฒน์ ลีปา. (2568, 3 มกราคม). ประชาชนจังหวัดเลย [บทสัมภาษณ์].
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วาสนา จิรนาท. (2567, 11 ธันวาคม). สมาชิกพรรคการเมือง [บทสัมภาษณ์].
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/m7OyD
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2550). คู่มือแนวทางการสร้างมาตรฐานความโปร่งใสของส่วนราชการ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สุรพล สุยะพรหม และสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิชัย พิทยานุรักษกุล. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจของประชาชนที่มีผลต่อการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุเทณ วัชรชิโณรส. (2567, 2 ธันวาคม). ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย [บทสัมภาษณ์].

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.