การสร้างระบบการจัดการขยะต้นทางชุมชนวิถีพุทธ
คำสำคัญ:
การสร้างระบบการจัดการขยะต้นทาง, ชุมชนวิถีพุทธ, รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบด้านการจัดการขยะต้นทาง 2. เพื่อสร้างแกนนำจิตอาสาและพัฒนาระบบการจัดการขยะในระดับครัวเรือน 3. เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและการขยายผลในพื้นที่ต้นแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสารศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเชิงพื้นที่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนามใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มเฉพาะ พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ 1. ชุมชนในตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 4 ชุมชน 2. ชุมชนในตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน ผู้แทนองค์กรศาสนาและผู้นำชุมชน 6 คน ผู้แทนประชาชน 6 คน รวม 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประกอบเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการขยะต้นทางในชุมชนวิถีพุทธมีปัญหาหลัก ได้แก่ การสะสมของขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขาดความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมจากประชาชน รวมถึงขาดความรู้ในการคัดแยกและจัดการขยะ การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน เช่น การควบคุมการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ การให้ความรู้ และการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม 2. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการขยะในระดับครัวเรือน ได้แก่ 1. คัดแยกขยะจากบ้าน เช่น ขยะอินทรีย์ รีไซเคิล และขยะอันตราย 2. นำขยะบางประเภทไปทำบุญ 3. ขายหรือใช้ขยะเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การรีไซเคิล 4. ทำให้ชุมชนสะอาดและน่าอยู่ 3. การขยายผลของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจะช่วยให้ชุมชนได้รับประโยชน์ ได้แก่ 1. สร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและวัสดุรีไซเคิล 2. เสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน 3. ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญของชุมชนในระยะยาว
References
กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2566. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://drive.
google.com/drive/folders/1nBD1qfiMi7Qw4j-bLJJbAgrWLPNKt04M.
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 115-128.
พรพิมล แก้วอ่อน. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 91-104.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้น 14 มกราคม 2565. จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/06/NS_PlanOct201
สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. (2556). กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.