พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ภาวะผู้นำ, นักการเมืองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.991 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีสะท้อนผ่านสามด้าน ได้แก่ บุคลิกภาพมีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจ แรงจูงใจด้านความสำเร็จผ่านการทำโครงการที่เห็นผลเป็นรูปธรรม และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมท้องถิ่น 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า กระบวนการส่งเสริมที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 8.40 ส่วนราชสังคหวัตถุ 4 ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 15.90 และ 3. พุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น การสนับสนุนบุคลากร การส่งเสริมอาชีพสุจริตผ่านการฝึกอบรม และการสื่อสารที่สร้างสรรค์
References
กิติ ตยัคคานนท์. (2552). นักบริหารทันสมัย. กรุงเทพฯ: บัตเตอร์ฟลาย.
ธวัช บุณยมณี. (2550). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์. (2537). จิตวิทยาองค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ (ปล้องขัน). (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อการบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต (นกทอง). (2566). การประยุกต์ใช้หลักทุติยปาปณิกธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ (พยนต์ยิ้ม). (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเมธีวัชรประชาทร (ประยูร นนฺทิโย). (2566). การพัฒนาบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ที่มีต่อการส่งเสริมอารยเกษตรตาม โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดสมุทรสงคราม โดยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มรุต วันทนากร. (2549). การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงกับเทศบาลไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิสเตอร์ ก๊อบปี้.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). สถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้น 19 กันยายน 2567, จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/FilterPageAge.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เจริญการพิมพ์.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper. and. Row.
Yukl, G.L. (1998). Leadership in Organizations (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.