การพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์ ล้ำนาค โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ชุลีรัตน์ ล้ำนาค โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์ไทย, การออกกำลังกาย, ทักษะ

บทคัดย่อ

          การพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย 2) เพื่อพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 ในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย จำนวน 1 แผน 2) แบบวัดทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย โดยกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน 5 ข้อ ได้แก่ 1. ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย 2. ความถูกต้องในด้านนาฏศิลป์ 3. ความคิดสร้างสรรค์ 4. สมรรถภาพทางกาย 5. การนำไปใช้จริง ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย ที่สร้างขึ้น วิเคราะห์หาประสิทธิภาพ E1/E2 ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 94.96/96.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 95/95 ที่กำหนดไว้ 2) การพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้สถิติวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่า 24 คะแนน เฉลี่ยอยู่ที่ 28.98 คะแนน หรือสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเป็นจุดตัดในการพัฒนาทักษะการออกกำลังกายด้วยท่านาฏศิลป์ไทย ด้วยสถิติทดสอบแบบอิงเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือการออกกําลังกายเพื่อสงเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ: ศรีเมืองการพิมพ์.

จรวยพร ธรณินทร์. (2534). ออกกําลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ: บริษัทเลิฟแอนด์ลิฟเพรส.

จิตอารี ศรีอาคะ. (2543). การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของ พยาบาล: [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2549). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ทิศนา แขมมณี. (2547) ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การวิจัยเบื้องต้น: สุวีริยาสาส์น.

ผกา สัตยธรรม. (2523). บูรณาการเพื่อการสอนและชีวิต: มิตรครู.

สมบัติ กายจนกิจ และ สมหวัง จันทรุไทย. (2541). พฤติกรรมการออกกําลังกาย ทบทวนองค์ความรู้สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการสืบวนวัฒนธรรมไทยสู่สุขภาพที่ยืนยาว: สํานักพัฒนาวิชาการ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.

สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553) . ออกแบบการวิจัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

อุษาพร เสวกวิ. (2549) สถิติวิเคราะห์: ศูนย์ปฏิบัติการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2022