การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริงภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีเสมือนจริง, ความเข้าใจ, ภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอกระบวนการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงภูมิศาสตร์ (AR Books Magics Map) เพื่อเข้ามาใช้ในกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจพร้อมทั้งทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน และทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้มากขึ้น สมาร์ทโฟนจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาและมีการเปิดโลกทัศน์ในการเรียนซึ่งทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่าย ผ่านการโปรแกรมเทคโนโลยีเสมือนจริงภูมิศาสตร์ (AR Books Magics Map) ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาท เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนจึงทำให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น สิ่งสำคัญผู้ปกครองมีการสนับสนุนผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง ผู้สอนจึงสนใจที่จะใช้สื่อการเรียนรู้ สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) ในการเรียนการสอน เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาการเรียนให้ดีขึ้น
References
จรินทร อุ่มไกร และไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2562). “การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดย อาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5,(2), 18-27.
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ. (2559, 6 กันยายน 2559). Virtual Reality เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน. Available: http://www.scimath.org/article/item/4818-virtual-reality
พัชรินทร์ บุญสมธป. (2561). “การสร้างความสนใจในชั้นเรียนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38,(1), 98-109.
สุนทรี มนตรีศรี และทะนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล. (2562). “การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง สร้างงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”. วารสาร ครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 18, 2: 0040-47.
อเนก พุทธิเดช, กานต์พิชชา แตงอ่อน และวาฤทธิ์ กันแก้ว. (2561). วิจัยพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขต โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
เอกรัฐ หล่อพิเชียร. (2560). การใช้สื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม (Augmented Realty) เรื่องโปรโตคอล TCP/P เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิชาการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.