การพัฒนาสื่อพอดแคสต์ เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2 สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
พอดแคสต์, ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพพอดแคสต์ วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2 เรื่อง กำเนิดเกาหลี และอาณาจักรโชซอนโบราณ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อน และหลังเรียนโดยใช้สื่อประเภทพอดแคสต์ประกอบการเรียนการสอน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการรับชมสื่อประเภทพอดแคสต์ โดยมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน และมีเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2 เรื่อง กำเนิดเกาหลี และอาณาจักรโชซอนโบราณ สคริปต์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจสื่อพอดแคสต์ และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง (T-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา ในการพัฒนาสื่อพอดแคสต์โดยผู้เชี่ยวชาญผลปรากฎว่า ใช้ได้ ทุกรายการ 2) คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 4.20 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.79 และคะแนนหลังเรียนได้ค่าเฉลี่ย 8.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.63 โดยมีค่า
t-test เท่ากับ -11.08 จากค่าสถิติในข้างต้นจะเห็นว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในสื่อพอดแคสต์อยู่ในระดับ มาก ทุกรายการ
References
ดวงธิดา ราเมศวร์. (ม.ป.พ.). ประวัติศาสตร์อารยธรรมอาเซียเกาหลี. กรุงเทพฯ: ยูโรปา เพรส.
นุจรีย์ ผิวงาม. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์วิชา
ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) กับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. งานวิจัยสำนักวิทยบริการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปาริชาติ สังข์ขาว. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยศรีปทุม.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ไพศาล หวังพานิช. (2533). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย แสงดาวฉาย. (2555). เกาหลี: จากมุมมองของผู้ผ่านไปเยือน. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566.
จาก https://socanth.tu.ac.th/blogs/vichai-korea-2555/.
วีระชัย โชคมุกดา. (2555). ประวัติศาสตร์เกาหลี. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
ศรัณย์ โรจนโสธร. (2563). ทำความรู้จัก Podcast สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ.
สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566. จาก https://www.thumbsup.in.th/podcast-brand-advertising.
อาลี ปรียากร. (2560). การศึกษาแนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านรูปแบบรายการ
พอดแคสต์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สายานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Fernandez, V., Polit, S. U., Simo, P., Polit, U., & Simo, P. (2015). Past, Present, and Future of
Podcasting in Higher Education. New Frontiers of Educational Research, (April 2016), 305-330. https://doi.org/10.1001/978-3-642-55352-3.
Miksen, C. (2008). The Disadvantages of Podcasts in Businesses. Retrieved February 10,
, from http://bit.ly/2lukSd7.
Tsagkias, M., Larson, M., Weerkamp, W., & de Rijke, M. (2008). PodCred: A Framework for
Analyzing Podcast Preference. Proceedings of the 2Nd ACM Workshop on Information Credibility on the Web, Napa Valle< 67-74. https://doi.org/10.1145/1458527.1458545.