การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการเรียนรู้ผ่านวีดีโอแบบอินโฟกราฟิก การเรียนรู้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เรื่อง ระบบรดน้ำอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • KOMVECH DANGPRAPAI -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: อินโฟกราฟิก; อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาวีดีโอแบบอินโฟกราฟิกการเรียนรู้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เรื่อง ระบบรดน้ำอัตโนมัติ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนรู้ผ่านวีดีโอแบบอินโฟกราฟิก การเรียนรู้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เรื่อง ระบบรดน้ำอัตโนมัติ ประชากรในการวิจัยได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 178 คน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายตามตารางของ Krejcie และ Morgan เป็นจำนวน 123 คน สมมติฐานในการวิจัยคือ นักเรียนที่เรียนผ่านวีดีโอแบบอินโฟกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยวีดีโอแบบอินโฟกราฟิก แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้สถิติทดสอบทีในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนาวีดีโอแบบอินโฟกราฟิกการเรียนรู้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เรื่อง ระบบรดน้ำอัตโนมัติพบว่า ได้ผ่านการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.82 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.38 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการเรียนรู้ผ่านวีดีโอแบบอินโฟกราฟิกการเรียนรู้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (น. 7 – 8) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สํานักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (น. 105) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

จุน ซากุระดะ. (2558). Basic infographic (ณิชมน หิรัญพฤกษ์, ผู้แปล). (น. 5 - 6) นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

ธนัญญา สกุลซ้ง และ กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมค้ำจุนโลกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้อินโฟกราฟิกกับการสอนแบบปกติ. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 116-117

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). อินโฟกราฟกกับการออกแบบสื่อการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์, 15(3), 29-30.

วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2559). ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วย Infographic. (น. 9 - 10) กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). (น. 4) กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี). (น. 103) กรุงเทพฯ : สกสค. ลาดพร้าว

สัญลักษณ์ วัฒนาเฉลิมยศ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้ปกครองโดยใช้ชุดสื่ออินโฟกราฟิกร่วมกับ

การใช้สถานการณ์จำลองเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

สุภาภรณ์ นะมามะกะ, ศยามน อินสะอาด และสุถจน์ อิงอาจ. การพัฒนาสื่อการสอนอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (น. 14). ECT Journal,14(16) 14.

อัญญปารย์ ศิลปะนิลมาลย์. ผลการใช้สื่อแอนิเมชั่น อินโฟกราฟิก วิชาการสัมมนาคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (SSPC). มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 31.

Alqudah, D., Bidin, A. B., & Hussin, M. A. H. B. M. (2019). The Impact of Educational Infographic on Students' Interaction and Perception in Jordanian Higher Education: Experimental Study. International Journal of Instruction, 12(4), 669-688.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York : Wiley & Son

Sadek, A., Zuhdy, H. S., & Kustandi, C. (2019). LEARNING BASIC PHOTOGRAPHY THROUGH LEARNING OBJECT INFOGRAPHIC VIDEO. EPRA International Journal. 4,1. Retrieved from https://www.eprajournals.com/jpanel/upload/1115pm_10.Akhmad%20Sadek-2910-1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2022