การสร้างสื่อภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม

ผู้แต่ง

  • waraphon manthung -
  • ธนวัฒน์ ถาวรกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, จิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล

บทคัดย่อ

ผลงานวิจัยชุดนี้เริ่มต้นมาจากความสนใจในภาพจิตกรรมฝาผนังร่วมกับการใช้งานเทคโนโลยี ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมฝาผนังในรูปแบบดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างสื่อภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้สื่อภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อที่ผสมผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล แบบประเมินคุณภาพและความพึงพอใจต่อผู้ชมสื่อ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ใช้ทั่วไปจำนวน 30 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการสังเกตสภาพแวดล้อมทั่วไปจนถึงการรวมข้อมูลจริงกับการสร้างภาพดิจิทัลโดยผสมผสานเทคโนโลยีความจริงเสริมเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตเนื้อหาได้ โดยผู้วิจัยใช้ภาพจิตรกรรมเพื่อสร้างงานสื่อโดยใช้เครื่องมือรูปแบบใหม่ ทำให้มีการคำนวณภาพทั้งหมดด้วยการเรนเดอร์แบบเรียลไทม์นำเสนอเรื่องราวในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ได้สื่อภาพจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
  2. ผลการประเมินคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยรวม 4.45 อยู่ในระดับดี
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรวม 4.35 อยู่ในระดับมาก

References

ปิยะฉัตร จารุจินดา คิศานุวัตร วรจิกาล และธีรพงศ์ ลีลานุภาพ. (2559). “การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมสําหรับเพิ่ม ประสบการณ์การท่องโลกวรรณคดี” การประชุม วิชาการระดับประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 8, วันที่ 25-26 ตุลาคม 2559 หน้า 29 -296

พจน์ศิรินทร์ ลิมปนันทน์. (2556). Using Augmented Reality (AR) for Encouraging the Retention of Learning English Vocabulary.วารสารวิชาการการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 7-16.2560.

สุริยะ ฉายาเจริญ. (2564). ผลงานดิจิทลัอารต์จากงานวิจัยกรณีศึกษาผลงาน สร้างสรรค์จากการสันนิษฐานรูปลักษณ์โบราณสถาน.วารสารนิเทศสยามปริทัศน์,12(13), 43-47.

สุวรรณพงศ์ วงษ์ศรีเพ็ง. (2554). การประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมเพื่อใช้ ในการสอนเรื่องพยัญชนะไทย. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ นครเหนือ.

Christiane Paul. (2008). Digital Art. London; New York: Thames & Hudson,

Jean Robertson, Craig McDaniel. (2005). Themes of contemporary art: visual art after 1980. New York: Oxford University Press,

_________. (2022). Reality in all levels of education. Education and Information Technologies. 27, 611-623.

Lertbumroongchai, K. (2013). The construction of Augmented Reality media by Unity + Vuforia Vocabulary. Journal of Innovative Technology Management Rajabhat Maha Sarakharm University. 4(2), 7-16. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2022