การประเมินโครงการนิเทศภายในวิทยาลัยเทคนิคพังงา ปีการศึกษา 2564

ผู้แต่ง

  • พยนต์ น้อยนาดี วิทยาลัยเทคนิคพังงา

คำสำคัญ:

ประเมินโครงการ, CIPP Model, วิทยาลัยเทคนิคพังงา

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้รูปแบบ CIPP Model โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการ และ5) ประเมินด้านผลกระทบของโครงการโดยการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 4 คน ครูจำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 17 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 81 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อม 2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า 3) แบบสอบถามด้านกระบวนการ และ4) แบบสอบถามด้านผลผลิต เป็นแบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert Method) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\mu) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\sigma) ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu=4.24, gif.latex?\sigma=0.62)
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu=4.30, gif.latex?\sigma=0.59)
3. การประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu=4.28, gif.latex?\sigma=0.60)
4. การประเมินผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu=4.18, gif.latex?\sigma=0.56)
5. การประเมินผลกระทบของโครงการ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ชุติมา แย้มจ่าเมือง. (2554). กระบวนการนิเทศที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม.

พิมพา ศิริวงศ์. (2554). การดำเนินการนิเทศงานวิชาการภายในวิทยาลัยวัดไผ่เงินโชตนาราม สำนักงานเขตบางคอแหลม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สมจินตนา แสงทอง และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการนิเทศการสอนที่พึงประสงค์ของครูในโรงเรียนวัดปรกเจริญ จังหวัดราชบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 139-152.

สุขฤทัย สุเสวี. (2554). การปฏิบัติงานนิเทศภายในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนราชมนตรีสำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

Harris, B. M. (1975). Supervisory in Education. Englewood Cliffs New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Naranjo, V. (2006). Educational Supervision in Columbia: The Role of the Supervision. Dissertation Abstracts International. 31(3), 973-984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022